I Teen IT

เด็กคน@วัยรุ่นมันส์

[รีวิว] BlackBerry PlayBook โดย TabletD.com (2/2)

 

[รีวิว] BlackBerry PlayBook โดย TabletD.com (2/2)

ภาคจบของรีวิว BlackBerry PlayBook ครับโดยในส่วนนี้จะให้ดูการใช้งานต่างๆ ใครที่ยังไม่เคยดูภาคแรกก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ [รีวิว] BlackBerry PlayBook โดย TabletD.com (1/2) เลยครับ

หน้าตาการใช้งาน
ระบบปฏิบัติการ BlackBerry Tablet OS หน้าตาการใช้งานจะแตกต่างจาก iOS และ Android โดยสิ้นเชิง ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้
  • ส่วนบนสุดจะแสดงการแจ้งเตือน วันเวลา และการตั้งค่าต่างๆ
  • ส่วนตรงกลางจะแสดงแอพพลิเคชั่นที่กำลังเปิดอยู่สามารถทำการสลับหรือปิดแอพที่ไม่ต้องการ
  • ส่วนล่างสุดจะแสดงแอพพลิเคชั่นทั้งหมดในเครื่องของเรา
Gestures วิธีการทัชแบบต่างๆในการใช้งาน
PlayBook มีสิ่งหนี่งที่แตกต่างจากระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆคือจะมีการทัชแบบต่างๆ ซึ่งถือเป็นการนำระบบสัมผัสมาช่วยในการใช้งานให้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างเช่นการปิดแอพพลิเคชั่นก็แค่ทำการสะบัดนิ้วขึ้นเท่านั้น ส่วนการสลับแอพก็แค่ลากจากขอบจอด้านซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ได้แล้วไม่ต้องมาทัชหลายรอบเหมือนระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ อันนี้ต้องขอชมว่า PlayBook ทำได้ดีทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการทัชในแบบต่างๆนี้บางครั้งก็เกิดปัญหาเหมือนกันกรณีที่ต้องการ scroll หน้าเพจผมมักจะเผลอลากเพลินดันไปลากจากขอบนอกเข้ามากลายเป็นว่าไม่ใช่การ scroll ไป ส่วนนึงอาจเป็นเพราะหน้าจอขนาด 7 นิ้วไม่ใหญ่มากทำให้พื้นที่ในการทัชน้อย
Web Browser – เปิดเว็บ
Web Browser สำหรับเล่นเน็ตของ PlayBook นั้นจะรองรับ Flash ซึ่งก็สามารถเปิดดูได้ตามปกติ ส่วนใช้งานการ scroll ยังทำได้ไม่ลื่นไหลเท่าไรนัก ภาษาไทยแสดงได้แต่สระต่างๆจะหายไป ส่วนคีย์บอร์ดก็ยังไม่มีภาษาไทยครับ (เวอร์ชั่นที่ผมรีวิวคือ 1.0.7) คงต้องรออัพเดทเวอร์ชั่นต่อไป
แสดงภาษาไทยได้แต่สระหายครับไม่สมบูรณ์
ด้านบนจะมีรูปดาวเอาไว้สำหรับเก็บเว็บใน Bookmark เพื่อดูทีหลัง
เวลาที่เราทำการลากนิ้วจากขอบบนลงมาก็จะแสดงหน้าจอสำหรับเปิดหลายเว็บพร้อมกัน
สามารถสลับเว็บหรือปิดหน้าเว็บที่ต้องการได้
วีดีโอตัวนี้จะทดสอบเกม Flash บน Facebook ให้ดูครับ
ก็สามารถเล่นได้แต่ไม่ลื่นเหมือนเล่นบนคอม
Youtube
PlayBook จะมีแอพพลิเคชั่น Youtube เอาไว้ดูวีดีโอต่างหากหรือจะดูจาก Web Browser ก็ได้ครับ จากที่ผมทดสอบบางคลิปก็เปิดได้บ้างไม่ได้บ้าง
เล่นวีดีโอออกจอทีวีผ่านช่องเสียบ HDMI
ทดสอบโดยใช้ไฟล์เดียวกับตอนรีวิว Galaxy Tab 10.1 ครับคือไฟล์วีดีโอแบบ H.264 AVC แบบ Baseline Profile (BP) เท่านั้นไม่ใช่ High Profile นามสกุล mp4 แบบ Full HD สามารถเล่นได้ไม่มีกระตุก แถมท้ายพอดีเขาให้สาย HDMI มาให้ด้วยเลยทำการต่อออกจอทีวีให้ดูด้วยเลย ซึ่งตอนไปงานเปิดตัวเขาบอกว่าสามารถปรับลดเสียงจาก PlayBook แทนทีวีได้ แต่ผมทดลองแล้วไม่ได้แหะไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร
Music – ฟังเพลง
Pictures – ดูภาพ
Maps – แผนที่
จะมีแอพพลิเคชั่น Bing แทนครับไม่ใช่ Google Maps พวกชื่อต่างๆยังเป็นภาษาอังกฤษ ส่วน GPS เท่าที่ผมทดสอบอยู่ในบ้านจับไม่ติดครับ ส่วนนึงน่าจะเป็นเพราะไม่ใช่ A-GPS
BlackBerry App World – แหล่งโหลดแอพพลิเคชั่น
สำหรับแหล่งโหลดแอพพลิเคชั่นของ PlayBook นั้นจะมี BlackBerry App World มาให้ แต่ทว่าแอพมันน้อยมากๆแทบจะไม่มีอะไรให้โหลดเลย คงต้องรอนักพัฒนาหรือไม่ก็ Android App Player สำหรับรันแอพ Android บน PlayBook กันต่อไป
Games – เกม
ตัวเครื่องจะมีเกม Need for Speed Undercover มาให้นอกนั้นไม่ค่อยมีเกมอะไรสักเท่าไร
E-Book – อีบุ๊ค
จะมีแอพพลิเคชั่น kobo ให้โหลดฟรี ส่วนอีบุ๊คบางอันต้องซื้อเอา
Documents to Go – เปิดแก้ไขไฟล์ Office
เนื่องจากยังไม่มีคีย์บอร์ดภาษาไทยครับเลยทดสอบพิมพ์ไทยไม่ได้ แต่ผมทดสอบโดยการเปิดไฟล์ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยผลปรากฎว่าเป็นสี่เหลี่ยมๆดังรูปครับสำหรับ word และ excel ส่วน Power Point กลับแสดงภาษาไทยได้ซะงั้น
Facebook
บน PlayBook จะมีแอพพลิเคชั่น Facebook ให้โหลดฟรีได้เลยครับหรือจะเปิดผ่าน Web Browser ก็ได้เหมือนกัน แต่หน้าตาจะไม่เหมือนกันเป็นแอพจะใช้ง่ายกว่า
แอพ Facebook
BlackBerry Bridge – BBM, ปฏิทิน, รายชื่อ, เมลล์
PlayBook จะไม่มีแอพพลิเคชั่นเช็คอีเมลล์, ปฏิทิน, รายชื่อเลยนอกเสียจากว่าเราจะมีมือถือ BB ถึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งถ้าเรามีมือถือ BB แล้วละก็จะสามารถใช้งานแอพเหล่านี้ได้ทั้งหมดรวมถึง BBM และการเล่นเน็ตผ่านมือถือ BB โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนเน็ตเพิ่มเติมเลย
กรณีที่ยังไม่เชื่อมต่อมันจะขึ้นอย่างนี้ครับ
แอพ Messages สำหรับเช็ครับส่งอีเมลล์
แอพ Contacts สำหรับเก็บรายชื่อเพื่อน
แอพ Calendar ปฏิทิน
แอพ BBM สำหรับแชต
แอพ MemoPad สำหรับจดข้อความเตือนความจำ
สามารถทำการโอนย้ายไฟล์ต่างๆจากมือถือ BB ไปที่ PlayBook ได้
WiFi File Share – แชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์กภายในบ้าน
อีกหนึ่งฟีเจอร์เด็ดสำหรับ PlayBook นั่นก็คือสามารถทำการแชร์ไฟล์บนเครื่อง PlayBook ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถ copy, paste, delete ได้โดยตรงสะดวกรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้แอพพลิเคชั่นเสริมใดๆ (ถ้าใครเคยแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คน่าจะคุ้นเคยกันดี โดยในส่วนนี้จะมอง PlayBook เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนึงเลย ถ้าอยู่ในวงเดียวกันก็สามารถจัดการไฟล์ต่างๆได้ อีกอย่างสามารถกำหนด Password ได้ด้วยครับถือเป็นการป้องกันไม่ให้ใครก็ได้เข้ามาจัดการไฟล์ ต้องเฉพาะคนที่รู้ Password เท่านั้น)
กล้องหลัง
กล้องหลังของ PlayBook จะมีความละเอียดถึง 5 ล้านพิกเซลแต่ว่าจะไม่มีออโต้โฟกัสและไฟแฟลชส่วนภาพก็คมชัดดี แต่ถ้าแสงน้อยภาพก็จะแตกถือเป็นเรื่องธรรมดาครับ
สรุป
สำหรับ BlackBerry PlayBook นั้นถือได้ว่ามีฮาร์ดแวร์และวัสดุตัวเครื่องที่ดี ระบบปฏิบัติการ BlackBerry Tablet OS ทำออกมาให้ใช้งานในการสัมผัสได้ง่ายกว่าตัวอื่นๆ รวมถึงการทำงานของ Multitasking ที่ไม่เหมือนใครและแตกต่าง แต่น่าเสียดายที่แอพพลิเคชั่นให้โหลดนั้นยังคงมีน้อยมาก แถมยังไม่มีแอพ Email, Calendar, Contacts เลยนอกเสียจากจะมีมือถือ BB ถึงจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกอย่างภาษาไทยก็ยังคงไม่รองรับและไม่มีคีย์บอร์ดไทยอีก ทำให้ภาพรวมดูจะยังไม่ค่อยพร้อมสำหรับบ้านเราสักเท่าไรนัก อาจต้องรออัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ที่คาดว่าน่าจะมีหลายๆสิ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากกว่านี้
คะแนนตามความคิดผู้รีวิว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 6.4/10
  • รูปร่างการออกแบบ : 7 – อยู่ในเกณฑ์ปกติขนาด 7 นิ้วทำให้น้ำหนักเบา ถือง่าย เสียแต่ปุ่มเปิด-ปิดกดยากไปหน่อย
  • วัสดุและฮาร์ดแวร์ : 8 – งานประกอบและวัสดุที่ใช้จัดว่าดีเยี่ยม แต่ว่ากล้องน่าจะมีออโต้โฟกัส ส่วน GPS ก็จับตำแหน่งยากไปหน่อยถ้าอยู่ในอาคาร
  • ฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆ : 6 – มีช่องเสียบ micro HDMI และ micro USB, สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คได้
  • ซอฟท์แวร์ : 5 – ออกแบบให้ใช้งานได้สะดวกต่อการทัช แต่ยังไม่รองรับภาษาไทย ไม่มีแอพ Email, Calendar, Contacts และแอพให้โหลดยังน้อยเกินไป
  • ความคุ้มค่า : 6 – ราคาในไทยยังสูงเกินไปเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นๆในตลาดตอนนี้
ขอขอบคุณบริษัท Research In Motion และบริษัท SiS Distribution (Thailand) จำกัด สำหรับเครื่องที่ให้ยืมในการรีวิวครั้งนี้
ใส่ความเห็น »

[พรีวิว] Toshiba REGZA Tablet AT200 โดย TabletD.com


[พรีวิว] Toshiba REGZA Tablet AT200 โดย TabletD.com

ต่อจากเมื่อวานนี้ที่มีงานเปิดตัว Toshiba REGZA Tablet AT200 ทางเว็บ TabletD ก็มีพรีวิวตัวเครื่องให้ได้ชมกันครับ ซึ่งจากที่ได้สัมผัสก็ต้องบอกว่ารู้สึกเบาสบายมือ ส่วนความบางถ้าเทียบกับรุ่นอื่นๆจะเห็นได้ไม่ชัดเท่าไรเนื่องจากต่างกันแค่ไม่กี่มม.เท่านั้น สำหรับวัสดุตัวเครื่องด้านหลังเป็นแมกนีเซียมอัลลอยด์โดยทาง Toshiba บอกว่ามันดีกว่าพลาสติกและอลูมิเนียม ช่องเสียบก็มีให้มาครบทั้ง microSD, Micro USB และ Micro HDMI แต่น่าเสียดายที่ไม่มี USB แบบ Full port
สเปคเครื่องคร่าวๆของแท็บเล็ตตัวนี้จะชิปประมวลผล TI OMAP4430 ที่มีซีพียู Dual-core ความเร็ว 1.2GHz ขนาดหน้าจอ 10.1 นิ้วความละเอียด 1280 x 800 เป็นแบบ IPS + กระจก Gorilla Glass + เทคโนโลยี Toshiba AutoView (ปรับแสง สี ให้อัตโนมัติตามสภาพแวดล้อมต่างๆ) + เทคโนโลยี Toshiba Resolution+ (อัพความละเอียดของวีดีโอคุณภาพต่ำให้สามารถแสดงเป็นแบบ HD ได้), รันระบบปฏิบัตการ Android 3.2 Honeycomb สามารถอัพเกรดเป็น Android 4.0 Ice Cream Sandwich ได้ประมาณช่วงเดือนเมษายน, กล้องหลัง 5 ล้านพิกเซลมีไฟแฟลช ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
จุดเด่นที่ทาง Toshiba ชูก็คือความบาง 7.7 มม. และเบา 535 กรัม
หน้าจอขนาด 10.1 นิ้ว + IPS + Gorilla Glass + Toshiba AutoView และ Toshiba Resolution+
ด้านหลังใช้วัสดุแมกนีเซียมอัลลอยด์ ดีกว่าพลาสติกและอลูมิเนียม
รันระบบปฏิบัติการ Android 3.2.1 Honeycomb สามารถอัพเกรดเป็น Android 4.0 Ice Cream Sandwich ช่วงเมษายน
ช่องเสียบมีทั้ง Micro USB, Micro HDMI และ microSD
อีกด้านจะมีปุ่มปรับลดเสียงและเปิดปิดอันเล็กๆอยู่ตรงกลาง
เล็กไปหน่อยแต่ก็พอกดได้ครับ
ปุ่มเปิดปิดเครื่อง และปรับลดเสียง
ด้านบนตัวเครื่องไม่มีปุ่มหรือช่องเสียบใดๆ
มีเทคโนโลยี Toshiba AutoView สำหรับปรับแสดง สี และ contrast ให้อัตโนมัติ
โดยจะไม่กินแบตเพิ่มขึ้น
มีเทคโนโลยี Toshiba Resolution+ สามารถอัพความละเอียดวีดีโอที่มีคุณภาพต่ำ
ให้แสดงความละเอียดในระดับ HD ได้แบบทันทีหรือ real-time
เทคโนโลยี Toshiba Audio Enhancement ช่วยให้เสียงชัดเจนและเด่นชัดมากยิ่งขึ้น
ในงานมีการทดสอบความทนทานของกระจก Gorilla Glass โดยให้ใช้คัตเตอร์กรีดกันสดๆ
ตอนแรกใช้พวงกุญแจคุณหนุ่ยบอกไม่สะใจให้เอาคัตเตอร์มากรีดดูเลยดีกว่า
ซึ่งตอนกรีดก็เชิญสื่อมวลชนท่านนึงขึ้นมาทดลอง และท่านพี่คนนี้ก็ใส่ไม่ยั้งเหมือนกันครับกรีดกันเต็มที่
ผลออกมาตามคาดไม่มีรอยให้เห็น
แขกรับเชิญคุณ เต๋อ-ไอซ์ จากหนัง ATM เออรัก เออเร่อ
ปิดท้ายด้วยภาพงามๆ
สำหรับ Toshiba REGZA Tablet AT200 นี้เริ่มวางขายแล้วนะครับตาม Shop Toshiba ทั่วไป (อย่างเช่นที่สยามพารากอน) โดยรุ่น WiFi 32GB อยู่ที่ 20,990 บาท
ใส่ความเห็น »

[รีวิว] iPad 2 โดย TabletD.com

[รีวิว] iPad 2 โดย TabletD.com

[รีวิว] iPad 2 โดย TabletD.com
สวัสดีครับ วันนี้ TabletD จะมารีวิว iPad 2 ให้ได้ชมกันหลังจากที่วางขายในไทยอย่างเป็นทางการมาแล้วถึง 5 เดือน ซึ่งทางผมเพิ่งจะได้เครื่องมารีวิวมาไม่นานมานี้เอง อีกอย่างประกอบกับช่วงที่ได้เครื่องมารีวิวนั้น งานเข้าอย่างหนักเลยทำให้รีวิวได้ไม่ละเอียดเท่าไรนัก ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ฮาร์ดแวร์
สเปค
สำหรับ iPad 2 นั้นมีการอัพเกรดจาก iPad 1 หลายอย่าง ทั้งความบาง ความเบา หน่วยประมวลผลและแรม ผมมีข้อมูลเปรียบเทียบมาให้ดูกัน

หน่วยประมวลผล


พูดถึงสเปคเครื่องกันนิดนึงสำหรับ iPad 2 ตัวนี้เป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่ใช้หน่วยประมวลผล Apple A5 รุ่นใหม่ถัดจาก Apple A4 ที่ใช้ใน iPhone 4 และ iPad 1 โดยตัว A5 นี้จะมีซีพียู ARM Cortex-A9 จำนวน 2 คอร์ (dual-core) กับจีพียู PowerVR SGX543MP2 (อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Apple_A5) ต่างจาก iPad 1 ที่มีซีพียู ARM Cortex-A8 เพียงคอร์เดียวกับจีพียู PowerVR SGX535 เท่านั้นผลการเปรียบเทียบจีพียูนั้นสามารถดูได้จากเว็บ anandtech เลยครับ


แรม


อีกหนึ่งสิ่งที่มีการปรับปรุงใหม่นั้นก็คือเพิ่มแรมจากเดิม 256MB ใน iPad 1 เป็น 512MB ใน iPad 2 ซึ่งถ้าเทียบกับแท็บเล็ต Android ที่วางขายตามท้องตลาดในปัจจุบันแล้วจะน้อยกว่าถึงครึ่งนึง (1024MB หรือ 1GB) แต่อย่างไรก็ตามจากการทดสอบประสิทธิภาพกลับไม่ได้ด้อยตามไปด้วย ส่วนนึงน่าจะมาจากระบบปฏิบัติการ iOS ที่มีการจัดการหน่วยความจำที่ดีทำให้ไม่มีปัญหาในการใช้งานเท่าไรนัก


บาง เบา


ข้อนี้เป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะประสบปัญหามาแล้วใน iPad 1 เนื่องจากถ้าใช้สักพักจะรู้สึกหนักจะถือก็ลำบาก แต่สำหรับ iPad 2 นั้นจะมีการปรับลดน้ำหนักลงเหลือประมาณ 600 กรัม ลดลง 79 กรัมสำหรับรุ่น WiFi และลดลง 127 กรัมสำหรับรุ่น 3G ส่วนความบางก็ลดลงเยอะจากเดิม 13.4 มม. เหลือเพียง 8.8 มม. เท่านั้น
กล้อง
อันนี้ตามกระแสครับสำหรับแท็บเล็ตแทบจะทุกยี่ห้อจะมีกล้องมาพร้อมกับตัวเครื่องอยู่แล้ว ทาง Apple ก็ได้ใส่กล้อง 2 ตัวหน้าหลังมาใน iPad 2 เรียบร้อย แต่ความละเอียดนั้นค่อนข้างน้อยมาก โดยกล้องหน้าเป็นแบบ VGA (0.3 ล้านพิกเซล) และกล้องหลังมีข้อมูลจาก Wiki ว่ามีความละเอียดเพียงแค่ 0.7 ล้านพิกเซลเท่านั้น ไม่มีออโต้โฟกัสกับไฟแฟลชด้วย อย่างไรก็ตามถือว่ามีให้ใช้แล้วกันครับ FaceTime ได้เสียที
รูปลักษณ์ สัมผัส ความรู้สึก


ด้วยความเบาและบางลงกว่าเดิมทำให้ถือได้สบายกว่า iPad รุ่นแรก แถมวัสดุก็ไม่แตกต่างกันยังคงเป็นโลหะเหมือนเดิม (บอกไม่ถูกครับว่าเป็นอะไร) แข็งแรงทนทาน ส่วนการออกแบบตัวเครื่องด้านหน้าเทียบกับ iPad 1 แล้วแทบจะแยกไม่ออกนอกจากจะสังเกตจากกล้องที่อยู่ด้านบนถึงจะแยกได้ มีปุ่มกลับหน้า Home อยู่ด้านล่างเช่นเดิม


แบบแนวนอน

    
iPad  :  iPad 2
ขอบตัวเครื่องด้านข้างเริ่มจะแตกต่างจาก iPad 1 จากเดิมที่ตัดตรงขึ้นมาเป็นสี่เหลี่ยมแล้วด้านหลังค่อยโค้งนูนขึ้นมา แต่สำหรับ iPad 2 จะโค้งเลยไม่มีตัดตรง ทำให้ตัวเครื่องบางลง



ด้านหลังจะมีกล้องหลังอยู่ที่มุมซ้ายบน และลำโพงอยู่ซ้ายล่างสุด นอกนั้นเหมือนเดิม
มาดูความบางกันบ้างเปรียบเทียบกับขนาดปากกาแล้วยังคงปากกา (ปากกาไซส์ใหญ่ไปหน่อย ^^”)
ดูจากด้านข้างปากกาหัวแดงๆนั้นคือปากกาครับ


งานประกอบ

ยังคงคุณภาพเดิมของ Apple เอาไว้อยู่เหมือนเดิม ไม่มีช่องว่างระหว่างกระจกจอกับตัวโครงด้านหลัง
ถ้าสังเกตดีๆกระจกหน้าจอจะไม่ได้เสมอกับตัวโครงด้านหลังดูจะนูนออกมาเล็กน้อยและเป็นแบบนี้หมดรอบตัวเครื่อง แต่กรณีนี้จะแตกต่างจากหน้าจอเผยอที่พบใน Galaxy Tab 10.1 อันนั้นจะนูนออกมาเฉพาะมุมจอ
ด้านหลังเป็น unibody ชิ้นเดียวจบไม่ต้องประกอบหลายชิ้นทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆนอกจากส่วนกระจกด้านหน้าและ body ด้านหลัง
ช่องเสียบและปุ่มต่างๆ
สำหรับ iPad 2 จะไม่มีช่องเสียบอะไรเพิ่มเติมเลยนอกเหนือจาก Dock และหูฟังเท่านั้น ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเอาครับ ส่วนปุ่มต่างๆอย่างเช่น เปิด-ปิดเครื่อง ปรับลดเสียงก็ทำออกมาได้ดีกดง่ายแต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไปป้องกันการเผลอไปกด
เวลาหันหน้าจอเข้ามาเราปุ่มเปิด-ปิดเครื่องจะอยู่ด้านบนขวา มีลักษณะนูนออกมาระดับนึงไม่ตื้น กดง่าย แต่ก็ไม่ได้ง่ายจนเกินไป
ถัดมาด้านซ้ายบนจะเป็นช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม.
ด้านขวามือจะเป็นปุ่มล็อกหน้าจอไม่ให้หมุนอัติโนมัติ และปุ่มปรับลดเสียง ลักษณะนูนขึ้นมาระดับนึงทำให้กดได้ง่าย
ด้านล่างจะเป็นลำโพงและช่องเสียบ Dock Connector
หน้าจอ
iPad 2 ยังคงขนาดหน้าจอเดิมอยู่คือ 9.7 นิ้วมาพร้อมกับ IPS Panel ให้ภาพคมชัดดูเป็นธรรมชาติเหมือนกับ ASUS Eee Pad Transformer และ Slider ครับแต่ของ ASUS จะมีความละเอียดหน้าจอที่สูงกว่าภาพที่ออกมาเลยดูละเอียดกว่า
มุมมองกว้าง ดูจากมุมต่ำก็ยังเห็นภาพ
เจอแสงสะท้อนก็ยังพอมองเห็นครับ
ซอฟท์แวร์

จุดเด่นของ iPad 2 ก็คือระบบปฏิบัติการ iOS ที่มีการจัดการหน่วยความจำดีมากถึงแม้จะมีแรมแค่ 512MB ก็สามารถใช้งานได้เป็นปกติไม่ต่างแท็บเล็ตตัวอื่นๆที่มีแรมมากกว่า อีกอย่างก็คือความลื่นก็ดูจะโดดเด่นกว่าแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการอื่นๆ ส่วนหนึ่งผมคาดว่าน่าจะมาจากความละเอียดของหน้าจอที่ไม่สูงมากอยู่ที่ 1024 x 768 น้อยกว่าแท็บเล็ต Android ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1280 x 800
การใช้งาน Home, Multitasking, Back
การใช้งานโดยรวมจะใช้ปุ่มกดปุ่มเดียวโดยถ้าต้องการสลับแอพก็ให้กดปุ่ม 2 ครั้ง ส่วนถ้ากดครั้งเดียวก็จะเป็นการกลับหน้า Home ปกติ เป็นการลดปริมาณปุ่มไม่ให้เยอะเกินไป ไม่ต้องใช้หลายปุ่ม ส่วนการย้อนกลับจะเป็นปุ่มทัชอยู่ด้านซ้ายบนของหน้าจอเป็นส่วนใหญ่ซึ่งต่างจาก Android ที่อยู่ด้านล่าง
คีย์บอร์ด
มีคีย์บอร์ดภาษาไทยมาให้ครับเป็นแบบ 4 แถว การตอบสนองต่อการคีย์ทำได้ดีมากลื่นไหล รวดเร็ว
เล่นวีดีโอ
ต้องทำการแปลงไฟล์ให้เป็นนามสกุล H.264, m4v, mp4, mov, avi และปรับลดความละเอียดลง สามารถทำการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมไปที่ iPad 2 โดยการต่อสาย Dock Connector แล้วเสียบเข้ากับช่อง USB บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นก็ใช้ iTune ในการซิงค์ไฟล์ต่อไป
Web Browser สำหรับเปิดเว็บ
บน iOS นั้นจะใช้ safari เป็นแอพสำหรับเปิดเว็บเล่นเน็ต ซึ่งก็พัฒนาโดยทางบริษัท Apple เอง และจากที่ผมทดสอบพบว่าการใช้งานต่างๆ เช่น การ scroll การซูมเข้าออก ทำได้ลื่นไหลและเร็วมากโดยรวมแล้วต้องยอมรับว่าดีกว่า Android ครับ
Flash
แน่นอนสำหรับ iOS ไม่รองรับ Flash ครับ ทดสอบแล้วเปิดไม่ได้
วีดีโอ Youtube
อย่างที่ทราบกันว่า Youtube เป็นเว็บที่ใช้ Flash พัฒนาเป็นหลัก ซึ่งเดิมที iOS ก็ไม่รองรับ Flash อยู่แล้ว แต่ทาง Apple ก็แก้ปัญหาโดยการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Youtube ขึ้นมาสำหรับเล่นวีดีโอ Youtube โดยเฉพาะ แถมใน web browser อย่าง safari ก็สามารถเล่นวีดีโอ Youtube ได้ด้วยเหมือนกัน
App Store
จุดเด่นอีกอย่างของ iPad ก็คือแอพพลิเคชั่นบน App Store ที่มีแอพเจ๋งๆให้โหลดเยอะกว่าระบบปฏิบัติการตัวอื่น แต่ทว่าส่วนใหญ่จะต้องเสียตังค์ซื้อครับ
ลำโพง
ถึงแม้ว่า iPad 2 จะมีลำโพงตัวเดียวอยู่ด้านขวาล่าง (หันจอเข้าหาตัว) แต่เสียงก็ไม่ได้เบาอย่างที่คิด
ระยะเวลาการใช้งาน
ผมไม่ได้วัดอย่างละเอียดเท่าไรนัก ต้องขออภัยด้วยครับ แต่จากการทดลองเล่นผมรู้สึกได้ว่าแบตอึดระดับนึงเลยทีเดียว standby เครื่องเป็นวันแบตหดไปไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมได้เครื่องมา 1 อาทิตย์ชาร์จไปประมาณสอง สามครั้งเท่านั้น

วีดีโอรีวิวแบบม้วนเดียวจบครับ 25 นาที
สรุป
iPad 2 ชื่อนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากหลายคนคงจะรู้จักและได้ยินกิตติศักดิ์กันมานานแล้ว ซึ่งจากที่ผมได้รีวิวก็บอกได้เลยว่า iPad 2 ยังคงเป็นแท็บเล็ตที่มาแรงตามคาด ทั้งตัวระบบปฏิบัติการที่มีการจัดการที่ดี ลื่นไหล แอพเยอะ ใช้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม iPad 2 ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ 2 จุดก็คือไม่มีช่องเสียบ และการโอนย้ายไฟล์ต้องซิงค์กับ iTune เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนนี้ระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆจะทำได้ดีกว่า ซึ่งใครที่จะซื้อและต้องใช้งานช่องเสียบคงต้องคำนึงในส่วนนี้ด้วย เพราะอุปกรณ์เสริมของ iPad 2 แต่ละตัวราคาก็ไม่ถูกเท่าไรนัก
คะแนนตามความคิดผู้รีวิว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 7.4/10
  • รูปร่างการออกแบบ : 8 – บาง เบา เรียบง่าย ปุ่มกดไม่ลำบาก
  • วัสดุและฮาร์ดแวร์ : 8 – งานประกอบเป็น unibody ชิ้นเดียวจบไม่มีรอยต่อมากมาย จีพียูแรง หน้าจอแจ่ม IPS แต่กล้องความละเอียดต่ำไปหน่อยทั้งหน้าและหลัง
  • ฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆ : 5 – ไม่มีช่องเสียบอะไรใดๆเลย
  • ซอฟท์แวร์ : 9 – มีการจัดการทรัพยากรเครื่องทีดี การทำงานโดยรวมลื่นไหล ใช้งานง่าย
  • ความคุ้มค่า : 7 – ราคามาตรฐานไม่แพงหรือถูกเกินไป
ขอขอบคุณบริษัท Apple Thailand สำหรับเครื่องที่ให้ยืมในการรีวิวครั้งนี้
ใส่ความเห็น »

[พรีวิว] Acer Iconia Tab A510 แท็บเล็ตชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 Quad-core รัน Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich

[พรีวิว] Acer Iconia Tab A510 แท็บเล็ตชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 Quad-core รัน Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich

[พรีวิว] Acer Iconia Tab A510 แท็บเล็ตชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 Quad-core รัน Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich

ในงานแถลงข่าวทิศทางการตลาดในปี 2555 ของ Acer ก็มีแท็บเล็ต Android ตัวใหม่ล่าสุดที่เตรียมจะนำเข้ามาขายในไทยมาโชว์ให้ดูกันด้วย นั่นก็คือ Acer Iconia Tab A510 ซึ่งเป็นแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอ 10.1 นิ้วใช้ชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 ซีพียู Quad-core ความเร็ว 1.3GHz สำหรับวันวางจำหน่ายทาง Acer บอกว่าน่าจะประมาณไตรมาส 2 นี้ ส่วนราคายังไม่เปิดเผย

ความแตกต่างระหว่าง A510 กับ A500
  • ใช้ชิปประมวลผล NVDIA Tegra 3 quad-core 1.3GHz แทน NVIDIA Tegra 2 dual-core 1GHz
  • เร็วขึ้นลื่นขึ้นกว่าเก่า
  • รัน Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich
  • ตัวเครื่องเบากว่าเดิม
  • ดีไซน์ด้านหน้าปรับให้เรียบขึ้น แต่ด้านข้างยังคงแนวโค้งๆเหมือนเดิม
  • ความบางไม่แตกต่างจากรุ่น A500 เท่าไรนัก
  • ตัดช่องเสียบ USB ออกไปแต่ยังมี microUSB อยู่ ส่วนช่องเสียบอื่นๆที่ยังมีอยู่ก็คือ microSD, microHDMI
  • กล้องหลังไม่มีไฟแฟลช
  • ปรับตำแหน่งกล้องใหม่ทั้งหลังและหน้าโดยจะมีตำแหน่งอยู่ตรงกลางส่วนบนของเครื่อง
  • ตัวที่นำมาโชว์คาดว่าน่าจะเป็นรุ่น WiFi อย่างเดียวเพราะไม่มีช่องใส่ SIM
ด้านล่างตรงกลางจะมีปุ่มวงกลมสำหรับเข้าส่วน Acer Ring
ที่เป็นส่วนเก็บ Bookmark เว็บ, ปรับลดเสียงและแอพ (จะเห็นว่ามีแอพ Acer Print ด้วย)
ช่องเสียบ microUSB อยู่ด้านล่าง
มีช่องเสียบ microHDMI ส่วนด้านซ้าย (ตรงคำว่า “Engineering sample, not for sale”) จะมีช่องเสียบ microSD
ปุ่มเปิดปิดเครื่องและช่องเสียบหูฟัง
ด้านหลังเครื่องมีสกรีนโลโก้โอลิมปิกที่ทาง Acer ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ
กล้องหลังไม่มีแฟลช
ใส่ความเห็น »

[รีวิว] ASUS Eee Pad Transformer Prime TF201 ภาคฮาร์ดแวร์ โดย TabletD.com

[รีวิว] ASUS Eee Pad Transformer Prime TF201 ภาคฮาร์ดแวร์ โดย TabletD.com

[รีวิว] ASUS Eee Pad Transformer Prime TF201 ภาคฮาร์ดแวร์ โดย TabletD.com
หลังจากที่ทาง ASUS ได้เปิดตัว Transformer Prime TF201 ในไทยไปเมื่อวานนี้ทางเว็บก็ได้เครื่องมารีวิวพร้อมกันเลยครับ ผมต้องขออนุญาตเอาภาพจากงานเมื่อวานที่ถ่ายกลางแจ้งมาผสมกับในร่ม เพื่อจะได้เห็นสภาพการใช้งานในรูปแบบแตกต่างกันนะครับ

สำหรับ Transformer Prime เป็นแท็บเล็ตรุ่นที่สองต่อจาก Transformer ตัวแรก ซึ่งทาง ASUS ก็ยังคงแนวคิดเดิมคือสามารถประกอบกับคีย์บอร์ด Dock ได้ ช่วยตอบโจทย์ในส่วนการใช้งานด้านการพิมพ์ที่แท็บเล็ตยี่ห้ออื่นๆไม่ค่อยเน้นเท่าไร ซึ่งก็ถือเป็นจุดขายที่ทาง ASUS ดึงมาโปรโมทในรุ่นนี้
สเปคเครื่อง
Transformer Prime ถือเป็นแท็บเล็ตตัวแรกที่ใช้ชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 ซีพียู Quad-core ซึ่งจากการที่ได้ลองสัมผัสและใช้งานพบว่าลื่นไหลกว่า Tegra 2 พอสมควร ส่วนอื่นๆก็มีหลายอย่างที่มีการอัพเกรดและนำจุดด้อยในรุ่นแรกมาปรับให้ดีขึ้นทั้งความบาง เบา กล้องและหน้าจอ แต่อย่างไรก็ตามพบปัญหาในส่วนของ GPS ที่ค่อนข้างจะจับสัญญาณได้ยากเวลาอยู่ภายในอาคารแทน โดยล่าสุดทาง ASUS ก็ได้ออกแถลงว่ารุ่นนี้มีปัญหาเรื่อง GPS จริง ส่วนนึงก็เป็นเพราะการออกแบบตัวเครื่องที่ใช้วัสดุเป็นอลูมินัมแบบ unibody (ชิ้นเดียว) นั่นเอง และจากที่ผมทดสอบก็พบปัญหาเช่นเดียวกันครับคือจับสัญญาณไม่ได้เลย
เรื่องแบตเตอรี่ของ Transformer Prime มีดีตรงที่มีแบตทั้งคีย์บอร์ดและแท็บเล็ตเมื่อแท็บเล็ตแบตหมดสามารถเสียบ Dock เพื่อชาร์จให้กับแท็บเล็ตได้ สำหรับรุ่นที่วางขายในบ้านเราจะมีเฉพาะ WiFi ความจุ 32GB เท่านั้น ยังไม่มี 3G ครับและอาจจะไม่มีด้วย
ในส่วนความบางของตัวเครื่องมีการปรับลดลงเหลือ 8.3 มม. จากเดิม 12.9 มม. เช่นเดียวกับน้ำหนักที่ลดมาเหลือ 586 กรัมจากเดิม 680 กรัม และเมื่อรวมกับคีย์บอร์ด Dock จะมีน้ำหนัก 1.13 กิโลกรัม
พูดถึงเรื่องกล้องกันบ้างถ้าเอาเฉพาะสเปคจะดูดีมากเพราะมีกล้องถึง 8 ล้านพิกเซลบวกกับอีกสารพัดฟีเจอร์มากมายจนบรรทัดเดียวใส่ไม่หมด (ดูในสเปคข้างล่างได้ครับ) ซึ่งก็ยังไม่มีแท็บเล็ตตัวไหนในตอนนี้กล้าใส่มามากขนาดนี้มาก่อนถือว่าน่าสนใจครับ แต่……..ทว่าพอใช้งานจริงผมกลับรู้สึกไม่แตกต่างจากเดิมเท่าไรนัก (อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ต้องลองด้วยตัวเองครับ)
รูปลักษณ์ สัมผัส ความรู้สึก
ในรุ่นนี้จะเปลี่ยนวัสดุเป็นโลหะหมดเกือบทั้งเครื่องเลยครับยกเว้นปุ่มพิมพ์คีย์บอร์ด น้ำหนักก็เบาขึ้นและเมื่อรวมร่างแล้วก็บางลง เบาขึ้นเช่นกันแต่ก็ยังถือว่าหนักอยู่ดีพอๆกับเน็ตบุ๊คเครื่องนึงได้ (ซึ่งเวลาใช้งานเราก็ต้องวางบนโต๊ะหรือบนตักอยู่แล้วครับ คงจะไม่มีปัญหาเท่าไร) ส่วนตัวแท็บเล็ตจะรู้สึกเบาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ด้านหลังแท็บเล็ตจะเป็นวงๆสะท้อนแสง
การออกแบบตัวแท็บเล็ตจะโค้งคล้ายๆกับ iPad 2 ไม่มีส่วนเหลี่ยมเหมือนรุ่นแรก ส่วนตัวคียบอร์ด Dock มีการออกแบบเครื่องให้ลาดลงเหมือนกับ ZENBOOK หรือ Macbook Air นั่นแหละครับ แต่จากการสัมผัสผมรู้สึกว่ามันแหลมไปหน่อยเวลาจับแต่ละทีกลัวจะบาดนิ้วเอา ซึ่งถ้าที่บ้านใครไม่มีมีดคงจะเอาไปหั่นผักแทนน่าจะได้เหมือนกันครับ (ผมล้อเล่นนะครับ)
ช่องเสียบ, ปุ่มต่างๆและคีย์บอร์ด Dock
TF201 รุ่นนี้มีการปรับเปลี่ยนช่อง HDMI เป็น Micro HDMI แทนส่วนช่องอื่นๆยังคงเหมือนเดิม โดยมีช่องเสียบ microSD ที่ตัวแท็บเล็ต ส่วนช่องเสียบ SD การ์ดกับ USB อยู่ที่ตัว Dock ครับที่ตัวแท็บเล็ตจะไม่มีช่องเสียบ USB เลย สำหรับปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มปรับลดเสียงมีตำแหน่งอยู่ทางซ้ายมือของเรา
สำหรับคีย์บอร์ด Dock ผมรู้สึกว่าปุ่มต่างๆจะนิ่มกว่ารุ่นแรก ตอนรุ่นแรกจะรู้สึกแข็งเกินไปพิมพ์ยาก แต่อันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น
ด้านซ้ายมือของตัวแท็บเล็ตจะมีปุ่มปรับลดเสียง, ช่อง Micro HDMI, ช่องเสียบ microSD และไมโครโฟน
ด้านซ้ายของคียบอร์ด Dock จะมีช่องเสียบ Dock สำหรับเสียบที่ชาร์จ
ด้านขวาของ Dock จะมีช่องเสียบ SD การ์ดและ USB
คีย์บอร์ดภาษาไทยครับ
ตัวล็อคหน้าจอเหมือนกับรุ่นแรก

หน้าจอ
จากที่ผมเคยรีวิว Transformer รุ่นแรกไปแล้วพบว่าเวลาใช้งานนอกอาคารแทบจะมองไม่เห็นอะไรเลย แต่ในรุ่น TF201 นี้ก็ได้มีการเปลี่ยนไปใช้หน้าจอ Super IPS+ แทน ฟังดูน่าจะเจ๋งใช่ไหมครับมีทั้ง Super แล้ว + อีกอะไรจะขนาดนั้น แต่จริงๆแล้วก็แค่เพิ่มความสว่างเท่านั้นเองแหละครับ ผมพูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ ถ้าให้เปรียบเทียบจอของ Transformer Prime กับยี่ห้ออื่นแล้วบอกได้เลยว่าคมและชัดกว่าหลายๆยี่ห้อ ซึ่งถ้าให้เทียบกับสุดยอดจออย่าง Super AMOLED Plus แล้วถือว่าสูสีดีคนละแบบ Super AMOLED Plus จะให้สีที่สดส่วน Super IPS+ จะคมและเป็นธรรมชาติ
แบบในร่ม
มุมมองกว้างไม่รู้กี่องศา แต่มองมุมไหนก็เห็นชัด
แบบนอกอาคาร
แบบปรับแสงสุดดีกว่าเก่าตรงยังพอมองเห็นบ้าง
สรุป
ทาง ASUS ถือว่าทำการบ้านมาอย่างดีตรงที่พยายามปรับปรุงแก้ไขข้อด้อยที่พบในรุ่นแรกทั้งการปรับหน้าจอให้สว่างขึ้น ปรับตัวเครื่องให้บางลง เบาขึ้น ทำคีย์บอร์ดภาษาไทยมาพร้อมเลย และใช้ชิปประมวลผลตัวใหม่ล่าสุดอย่าง NVIDIA Tegra 3 ซีพียู Quad-core ที่น่าจะเร็วที่สุดในตอนนี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามยังพลาดในส่วนของ GPS อยู่ดี ซึ่งก็น่าเสียดายแต่โดยรวมแล้วก็ถือได้ว่าอัพเกรดจากรุ่นแรกมาพอสมควรบวกกับจุดขายเดิมที่มีคีย์บอร์ดแยกร่างได้ทำให้ Transformer Prime เป็นแท็บเล็ตที่มาแรงและน่าจับตามองในตลาดตอนนี้ (ถ้าราคาถูกกว่านี้จะดีมาก)
คะแนนตามความคิดผู้รีวิว
  • รูปร่างการออกแบบ : 8 – ผมไม่ค่อยชอบตรงแหลมๆเท่าไร แต่นอกนั้นก็ดูดี บางและก็เบาขึ้น
  • วัสดุและฮาร์ดแวร์ : 9 – วัสดุเป็นอลูมินัมแบบ unibody หน้าจอสว่างกว่าเดิม ชิป NVIDIA Tegra 3 แรงและเร็ว แต่เสียดายที่ GPS จับสัญญาณยาก

 


[รีวิว] ASUS Eee Pad Transformer Prime TF201 ภาคซอฟท์แวร์ โดย TabletD.com

มาถึงภาคซอฟท์แวร์กันบ้างสำหรับ ASUS Eee Pad Transformer Prime นี้จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 3.2 Honeycomb แต่สามารถอัพเป็น Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich ได้เลยครับ สำหรับหน้าตาการใช้งานก็ไม่แตกต่างจาก 3.2 เท่าไรนัก แต่ความลื่นในการใช้งานก็ถือว่าดีกว่า Transformer รุ่นแรก ซึ่งก็เป็นผลมาจากชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 นั่นเอง และจากชิปประมวลผลตัวใหม่ล่าสุดนี้ ที่มีซีพียูถึง Quad-core หรือ 4 คอร์นั้น หลายคนคงอยากรู้ว่าจะสามารถเล่นเกม Flash บน Facebook ได้หรือเปล่า อันนี้ผมมีผลทดสอบมาให้ดูด้วยครับติดตามชมกันได้เลย
แนะนำการใช้งาน
ถึงแม้จะเป็น Android 4.0.3 Ice Cream Sandwich แต่หน้าตาการใช้งานนั้นแทบไม่แตกต่างจาก Android 3.2 Honeycomb เลย จะมีก็เพียงเปลี่ยนสีในส่วนแจ้งเตือนด้านมุมขวาล่างและปรับเอาส่วนเพิ่ม widgets ให้อยู่ในหน้าแสดงแอปแทน (เอาปุ่ม + มุมขวาบนออกไป) อีกอย่างก็คือเราสามารถทำการจัดกลุ่มแอพหรือทำ Folder ได้แล้ว สำหรับความเร็วและลื่นในการใช้งานถือว่าเร็วกว่า Transformer รุ่นแรก การลากไอคอนไม่มีอาการหน่วงหรือกระตุกให้เห็น อีกอย่างที่เพิ่มเข้ามาตรงหน้าจอล็อคเครื่องเราสามารถเข้าแอพถ่ายรูปได้เลยโดยที่ไม่ต้องปลดล็อคเครื่องก่อน
Transformer Prime จะมี 2 ส่วนที่เราสามารถปรับการใช้งานเองได้ ประกอบไปด้วย
  • โหมด IPS+ สำหรับใช้งานภายนอกอาคารที่มีแสงแดดส่อง (หน้าจอจะเพิ่มความสว่างให้มากกว่าเดิม)
  • สามารถปรับการใช้งานได้ 3 โหมด
    • Power saving : เน้นประหยัดพลังงานเป็นหลัก
    • Balance : โหมดสมดุลแบ่งครึ่งการใช้พลังงานและประสิทธิภาพ
    • Performance : เน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก แน่นอนจะเปลืองแบตกว่าปกติ
ตรงไอคนด้านบนจะเห็นได้ว่าเราสามารถจัดกลุ่มเป็น folder ได้
ส่วน Widget ที่อยู่ตรงกลาง ที่มีเขียนคำว่า “One-click Clean” อันนี้สำหรับเคลียร์แอพที่เราเปิดค้างเอาไว้อยู่ ไม่ต้องลงแอพพวก Task Killer แล้ว
หน้าแสดงแอพทั้งหมดถ้าสังเกตด้านบนจะเห็น APPS และ WIDGETS หรือก็คือในเวอร์ชั่นนี้จะย้าย WIDGETS มารวมในหน้าเดียวกันเลย

Web Browser

การใช้งาน Web Browser แน่นอนก็ย่อมลื่นขึ้นกว่าเดิมเป็นธรรมดา ทั้งการซูมเข้าออกและการ Scroll แต่ผมก็มีข้อสังเกตอย่างนึงคือถ้าเว็บไหนมี Flash เยอะการซูมเข้าออกจะกระตุกอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเว็บก็soccersuck.com เลยครับ (ใครอยากทดสอบ flash ต้องเว็บนี้)
มาถึงการทดสอบเกม Flash บน Facebook กันบ้างซึ่งผลออกมามีอาการกระตุกไม่แตกต่างจากแท็บเล็ตรุ่นก่อนหน้า ส่วนนึงผมคาดว่าน่าจะมาจากทาง Adobe Flash ที่ยังไม่ได้พัฒนา Flash ให้สามารถดึงประสิทธิภาพการใช้งานของชิปประมวลผล NVIDIA Tegra 3 ซีพียู Quad-core ได้อย่างเต็มที่ผลเลยออกมาไม่แตกต่างจากเดิม และข่าวร้ายล่าสุดก็คือทาง Adobe ได้ประกาศหยุดพัฒนา Flash Player สำหรับมือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตไปแล้วด้วย คงจะไม่มีโอกาสได้เล่นเกม Flash บน Facebook อย่างแน่นอน นอกเสียจากทางผู้พัฒนาเกมจะแปลงให้อยู่ในรูปแบบ HTML5 หรือ Adobe Air ถึงจะสามารถเล่นได้ (แต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไร)
ใน Web Browser มีอีกโหมดการแสดงผลที่น่าสนใจก็คือแบบเต็มจอ โดยเราสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ Settings -> Labs -> Quick controls ทำการติ๊กถูกซะ ก็จะแสดงหน้าเว็บแบบเต็มจอให้
สำหรับส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในเวอร์ชั่น 4.0 มีดังต่อไปนี้
  • Request desktop site : สามารถบังคับให้หน้าเว็บแสดงเหมือนกับเวลาที่เราเปิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์
  • Save for offline reading : เซฟเว็บเก็บเอาไว้ดูทีหลังแบบไม่ต้องต่อเน็ต
สามารถปรับให้แสดงแบบเต็มจอไม่ต้องมีแถบบาร์ด้านบนได้
ส่วนการใช้งานเมนูต่างๆจะใช้การทัชที่ชอบจอด้านขวาซ้ายแทน ซึ่งก็จะมีเมนูขึ้นมาดังรูป

การใช้งาน GPS

หลายๆคนคงจะได้ยินข่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า Transformer Prime นั้นมีปัญหาเรื่อง GPS ที่จับสัญญาณได้ยากเวลาอยู่ในอาคาร ซึ่งทางผมก็ได้มีโอกาสทดสอบการใช้งาน GPS โดยการเปิด WiFi ช่วยพร้อมกับทดสอบด้วยแอพ GPS Test ผลที่ได้ก็คือหาสัญญาณดาวเทียมไม่พบเลยสักดวง (บ้านผมเป็นตึกแถว 3 ชั้น) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดแอพแผนที่กลับสามารถระบุตำแหน่งได้ คาดว่าสัญญาณน่าจะมาแบบอ่อนๆ อันนี้ต้องทำใจครับว่าการใช้งาน GPS คงจะได้ไม่เต็มที่มากนัก
ทดสอบแอพแผนที่แบบเปิด WiFi ช่วยยังสามารถระบุตำแหน่งได้
แอพ Polaris Office สำหรับการใช้งานไฟล์ Microsoft Office
การใช้งานด้านเอกสารนั้น Transformer Prime ก็มีแอพ Polaris Office มาให้ด้วย ด้านการใช้งานสามารถใช้ได้ระดับนึงรายละเอียดทั้งหมดผมสรุปรวมมาให้ประมาณนี้
  • การสลับภาษาไทยเป็นอังกฤษทำได้ลำบาก ซึ่งจากที่ทราบมานั้นสามารถใช้การกดปุ่ม Ctrl + Shift ให้ขึ้นหน้าจอเลือกภาษาได้แต่ก็ยังไม่สะดวกเนื่องจากต้องมานั่งเลือกอีกที  ผมเลยลองค้นหาวิธีในเน็ตดูลองมั่วไปมากลับสามารถใช้ Ctrl + Space Bar สลับภาษาได้เลย แต่พอไปลองที่เครื่องอื่นดันไม่ได้ซะงั้น และผมก็คืนเครื่องไปแล้วเสียด้วยเลยไม่มีโอกาสได้ลองอีกที แต่ที่จำได้คร่าวๆต้องเอาคีย์บอร์ดออกให้เหลือแค่ 2 อันเท่านั้นครับ ไม่รู้พอจะช่วยได้ไหม
  • Excel ใช้งานยาก ปกติจะพิมพ์ในเซลล์ได้เลยแต่อันนี้ต้องทัชเลือกเซลล์แล้วค่อยไปพิมพ์ในช่อง fx แทน ส่วนฟังก์ชั่นหลักๆอย่าง Sum, Avg ก็มีมาให้แต่ถ้าระดับ advance อย่างมาโครจะใช้งานไม่ได้
  • PowerPoint ไม่สามารถใส่ลูกเล่นได้ครับอย่างเช่นการ fade ไปมาหรือ animation ต่างๆ ได้แต่สไลด์ภาพนิ่งๆ
  • ไม่มีเมนูสำหรับสั่งพิมพ์ต้องใช้แอพตัวอื่นพิมพ์แทน
Word
Excel
PowerPoint
แอพ SuperNote สำหรับจดโน๊ต
จริงๆ Transformer รุ่นแรกก็จะมีแอพตัวนี้ติดมาด้วยอยู่แล้ว แต่ผมเพิ่งจะได้ทดสอบและจากการใช้งานสามารถเขียนตัวหนังสือภาษาไทยได้ โดยเมื่อเราเขียนแล้วตัวแอพจะใช้การแสดงผลเป็นรูปแทนทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องฟอนท์แต่อย่างใด นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ภาพหรือบันทึกเสียงและวีดีโอลงในโน๊ตได้ด้วย (น่าเสียดายที่ไม่มีปากกา)
ทดสอบภาษาไทย
อันนี้เป็นไฟล์ที่เขาลองเทสแล้วติดมากับตัวเครื่อง ซึ่งจะให้ดูว่าเขียนภาษาญี่ปุ่นหรือจีนก็ยังได้ (ผมเขียนไม่เป็นหรอกครับ อาศัยเอาของคนอื่นมา)
Gallery สำหรับเปิดภาพ ดูวีดีโอ 1080p และระบบเสียง ASUS SonicMaster
จากที่ได้ทดสอบไฟล์ 1080p อันเดิมที่เล่นแล้วกระตุกแต่ใน Transformer Prime นี้ไม่มีอาการให้เห็น เดิมในรุ่นก่อนๆนั้นจะสามารถเปิดวีดีโอความละเอียด 1080p ได้ต้องเป็นไฟล์ฟอร์แมต H.264 AVC แบบ Baseline Profile (BP) เท่านั้นไม่ใช่ High Profile และนามสกุลที่รองรับก็จะได้แค่ 3GPP (.3gp), MPEG-4 (.mp4), MPEG-TS (.ts, AAC audio only, not seekable, Android 3.0+)
แต่ในการใช้งานจริงผมแนะนำว่าให้โหลดแอพ MX Video Player มาใช้แทนจะดีกว่าเพราะแอพตัวนี้รองรับ codec หลายแบบ (mkv ก็เปิดได้) แถมยังสามารถเปิดพร้อมไฟล์ซับอย่าง ssa, srt ได้อีกด้วย
สำหรับการเปิดดูภาพที่อยู่บนเครื่องนั้นทำได้ลื่นไหล ในความรู้สึกผมน่าจะใกล้เคียงกับ iPad 2 ได้เลย ส่วนระบบเสียงก็จะเป็น ASUS SonicMaster ที่ให้คุณภาพดีกว่าเดิม แต่น่าเสียดายที่ตัวเครื่องมีลำโพงเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น

MyCloud สำหรับเก็บข้อมูลไว้บนกลุ่มเมฆและสามารถรีโมทไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้

MyCloud เป็นแอพหนึ่งในชุดตระกูล My ที่ติดมากับตัวเครื่อง Transformer Prime โดยแอพตัวนี้จะแบ่งความสามารถย่อยเป็น 3 ส่วนได้แก่
  • My Content : สำหรับใช้เก็บข้อมูลไว้บนกลุ่มเมฆของทาง ASUS เรียกว่า ASUS Webstorage สามารถเก็บไฟล์ได้ถึง 8GB แต่เวลาใช้งานจะต้องต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • My Desktop : สำหรับรีโมทไปควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่เครื่องคอมจะต้องลงโปรแกรมเอาไว้ด้วย
  • @Vibe : สำหรับซื้ออีบุ๊คหรือเพลง
My Content สำหรับฝากไฟล์ไว้บนกลุ่มเมฆทาง ASUS เรียกบริการนี้ว่า ASUS Webstorage
ใน Prime จะมีการเปลี่ยนสีใหม่ให้แตกต่างจาก Transformer รุ่นแรก
My Desktop สำหรับใช้รีโมทไปควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
MyNet ใช้ฟังเพลง ดูหนังจากเครื่องคอมแบบ Stream ไม่ต้อง copy ลงเครื่อง
แอพ MyNet ลักษณะการใช้งานจะเหมือนกับ Clear.fi ของทาง Acer โดยเราจะสามารถเปิดเพลงหรือดูหนังที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (เครือข่าย WiFi เดียวกัน) มาแสดงบนแท็บเล็ตได้แบบ Stream หรือเล่นทันทีไม่ต้อง copy ไฟล์มาลงเครื่องแต่อย่างใด
สำหรับการตั้งค่าใน Windows Media Player สามารถเข้าไปดูวิธีได้ที่รีวิว ASUS Eee Pad Slider โดย TabletD.com (2/2) เลยครับ
ดึงไฟล์เพลงหรือวีดีโอในเครื่องคอมมาเล่นได้
ไฟล์เพลงที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเปิดเล่นได้ทันทีผ่านเครือข่าย WiFi ภายในบ้าน
กล้อง
แอพกล้องบน Transformer Prime นั้นจะมีฟีเจอร์ถ่ายภาพแบบพาโนรามาติดมาด้วย ส่วนภาพที่ถ่ายจากกล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซลนั้นลองดูได้จากข้างล่างนี้เลย
ถ่ายช่วงเย็นๆภาพมืดไปหน่อย
ภาพแบบพาโนรามา


แบตเตอรี่
  • ทดสอบโดยเปิดวีดีโอความละเอียด 1080p เปิดเสียงสุด เปิด WiFi เปิด Bluetooth ใช้โหมด Balance
  • นาน 53 นาทีแบตลดไป 13% เมื่อคิดเป็น 100% แล้วจะใช้งานได้ 6.8 ชม. เฉพาะแท็บเล็ตยังไม่รวม Dock
แอพอื่นๆ
แอพ App Backup สำหรับ backup เก็บแอพที่เราลงไว้ในเครื่องแล้วให้เป็นไฟล์เดียว
สามารถนำไปลงเครื่องอื่นได้แต่ต้องมีแอพตัวนี้ด้วย
แอพ File Manager เหมือนกับ Windows Explorer บนเครื่องคอม
ใช้สำหรับเปิดไฟล์ เพิ่ม folder, copy, move, paste ไปที่ SD การ์ดหรือ microSD การ์ดได้
แอพ Google+
แอพ Movie Studio สำหรับแก้ไขปรับแต่งวีดีโอ
สรุป
ASUS Eee Pad Transformer Prime เป็นแท็บเล็ตที่อัพเกรดขึ้นมาจาก Transformer รุ่นแรก มีการปรับตัวเครื่องให้บางและเบาตามเทรนด์ในปัจจุบัน ส่วนชิปประมวลผลก็ใช้ตัวใหม่ล่าสุด ซึ่งจากที่ได้ทดสอบการใช้งานทั่วไปต้องยอมรับว่าเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในบางแอพ และการที่มีคีย์บอร์ด Dock ภาษาไทยติดมากับตัวเครื่องเลยก็ช่วยในการทำงานด้านเอกสารดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมดบางส่วนใช้แล้วอาจจะขัดใจเล็กน้อยไม่เหมือนกับที่เราใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ อันนี้ก็ต้องให้ทาง Polaris เขาพัฒนากันต่อไป
ปัญหานึงที่พบได้บ่อยก็คือเวลาเล่นเกมจะมีอาการเครื่องค้างต้องรีสตาร์ทใหม่แต่การใช้งานทั่วไปยังไม่พบเท่าไรนัก ส่วนอีกปัญหาก็คือ GPS ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่เชิงว่าจะเป็นปัญหาเพียงแต่ว่ามันไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่นัก อันนี้ใครซื้อไปใช้ก็ต้องทำใจครับ พูดถึงราคากันบ้างที่วางขายในไทยจะอยู่ที่ 20,900 บาท ถ้าเทียบกับรุ่นแรกแล้วจะแพงกว่าถึง 5,000 บาท ผมมองว่ามันยังสูงเกินไปเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มา สรุปโดยรวมแล้วถ้าใครอยากสัมผัสแท็บเล็ตที่มีความเร็วและแรงที่สุด ณ ตอนนี้ต้องบอกว่า Transformer Prime เท่านั้นครับ
คะแนนตามความคิดผู้รีวิว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 7.6/10
  • รูปร่างการออกแบบ : 8 – ผมไม่ค่อยชอบตรงแหลมๆเท่าไร แต่นอกนั้นก็ดูดี บางและก็เบาขึ้น
  • วัสดุและฮาร์ดแวร์ : 9 – วัสดุเป็นอลูมินัมแบบ unibody หน้าจอสว่างกว่าเดิม ชิป NVIDIA Tegra 3 แรงและเร็ว แต่เสียดายที่ GPS จับสัญญาณยาก
  • ฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆ : 8 – มีช่องเสียบครบทั้ง USB, Micro HDMI, SD การ์ด (ตัว Dock) และ microSD (แท็บเล็ต) แถมยังมี Dock คีย์บอร์ดช่วยเพิ่มระยะเวลาการใช้งานและสะดวกในการพิมพ์อีก
  • ซอฟท์แวร์ : 7 – สามารถปรับโหมดให้ทำงานแตกต่างกันได้ แต่อย่างไรก็ตามพบปัญหาอาการค้างในการเล่นเกมบางครั้งจนต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่
  • ความคุ้มค่า : 6 – ผมมองว่าราคายังสูงไปนิด แต่ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ามีแต่รุ่นความจุ 32GB ด้วยล่ะมั้ง (20,900 บาท รุ่น WiFi 32GB  แท็บเล็ต + Dock)
ใส่ความเห็น »

Preview : OPPO Find . .

 

ใครจะรู้ว่า แอนดรอยด์จะทำออปโป้.. โอ๊ะ! ไม่ใช่ ใครจะรู้ว่าออปโป้จะทำแอนดรอยด์ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ DroidSans ก็ได้เครื่องมาแล้ว อิอิ เราก็จะเริ่มทำการพรีวิวกันให้ดูก่อนเป็นน้ำจิ้มกับ OPPO Find มือถือ Android เครื่องแรกของ OPPO Mobile ที่จะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย.. ฮ้า! พูดเป็นเล่น Smile

 

หน้าตาเครื่องแว่บแรกดูแล้วเหลี่ยมๆ แว่บที่สองก็ยังเหลี่ยมอยู่แฮะ วัสดุหน้าจอเป็นกระจก ส่วนตัวเครื่องนี่เป็นโลหะเต็มๆครับ มีน้ำหนักพอสมควรเลย

 

 

ฝาหลังเป็นพลาสติกแข็งขึ้นรูป ผิวด้านสีเทาๆ มุกๆ ทำเป็นลายตารางเล็กๆ

 

 

มาดูที่กล้องบ้าง OPPO จัดมาที่ความละเอียด 8 Mpixel พร้อม DUAL LED Flash

 

 

เลื่อนลงมาด้านล่างจะเห็นช่องลำโพง

 

 

ด้านซ้ายของตัวเครื่องก็จะเป็นปุ่ม power / lock เครื่องปุ่มเดียวเลย

 

 

ด้านขวาเป็น volumne ไว้ปรับเพิ่มลดเสียงครับ

 

 

มีกล้องหน้าด้วยนะ ความละเอียด 2 Mpixel ส่วนด้านบนก็จะเป็นช่อง microUSB และ 3.5 mm stereo headset

 

 

หน้าตา UI ของ OPPO Find ออกแบบมาแนวล้ำๆ เหลี่ยมๆ

 

 

หน้าตา widget ก็ออกแบบไปในทางเดียวกัน แนวๆ Futuristic (ห้ามถามว่าแปลว่าอะไร เพราะไม่รู้ Tongue)

 

 

ภายใน App Drawer ก็เปลี่ยน icon ต่างๆ ให้เข้ากับ Theme ของ UI ด้วย

 

 

ขอบอกว่าหน้าจอ คมมาก.. คมมากจริงๆ

 

 

มี LOMO Camera App ที่ทาง OPPO ได้ลิขสิทธิ์ถูกต้องมาจาก Lomo ด้วย

 

 

จบแล้วครับผม สำหรับ Preview ในวันนี้ เดี๋ยวเร็วๆ นี้มาติดตามรีวิวกันเต็มๆ อีกที

ใส่ความเห็น »

รีวิว:ASUS Eee Pad Transformer

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer เป็นแท็บเล็ตที่มากับคีย์บอร์ดแยกที่สามารถใช้เชื่อมต่อเข้ากันได้ทันที ตัวเครื่องผลิตจากวัสดุอย่างดี มีทั้งความแข็งแรงและทนทาน วัดขนาดได้ความยาว 271 กว้าง 171 หนา 13 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉพาะแท็บเล็ตหนัก 681 กรัม แต่ถ้าต่อเข้ากับคีย์บอร์ดจะหนัก 1,321 กรัม

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ด้านหน้าของแท็บเล็ตเป็นจอแสดงผลระบบสัมผัส ความละเอียด 1232 x 800 พิกเซล กว้าง 10.1 นิ้ว ถัดขึ้นไปเป็นกล้ิองหน้าความละเอียด 1 ล้านพิกเซล

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ฝั่งซ้ายเป็นปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง, ปรับระดับเสียง และลำโพงเสียงฝั่งซ้าย

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ฝั่งขวาเป็นช่องต่อขนาด 3.5 มิลลิเมตร, mini HDMI, ช่องใส่การ์ด microSD และลำโพงเสียงฝั่งขวา

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ด้านหลังเป็นผิวลายขรุขระเพื่อความกระชัับไม่ลื่นระหว่างจับเครื่อง ส่วนบนเป็นกล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล และซ่อนแบตเตอรี่ไว้ด้านใน

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ด้านล่างมีฐานเพื่อต่อเข้ากับส่วนคีย์บอร์ด

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

คีย์บอร์ดออกแบบมาได้แข็งแรงไม่แพ้ตัวแท็บเล็ต ส่วนบนเป็นที่ล็อคแท็บเล็ตพร้อมปุ่มสไลด์สำหรับล็อค/ปลดล็อคเครื่อง ถัดลงมาเป็นคีย์บอร์ดสกรีนภาษาอังกฤษ แต่สามารถพิมพ์ไทยได้ด้วยวิธีพิมพ์สัมผัส (หรือสามารถซื้อสติ๊กเกอร์ภาษาไทยมาแปะได้) ด้านล่างมีแถบ Trackpad สามารถใช้งานแทนเม้าส์ได้

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

นอกจากจะใช้พิมพ์ข้อความแล้วยังมีความสามารถอื่นๆ ทั้งแบตเตอรี่สำรองที่ซ่อนอยู่ตัวคีย์บอร์ด, ช่องต่อที่ชาร์จแบตเตอรี่, ช่องใส่การ์ด SD Host 2 ช่อง สามารถใช้ต่อได้ทั้ง แฟลชไดร์ฟ, เม้าส์ หรือแอร์การ์ด

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

เมื่อต่อแท็บเล็ตเข้ากับคีย์บอร์ด ที่แท็บเล็ตจะแสดงไอคอน Docking connected เพื่อแสดงว่าได้มีการเชื่อมต่อเกิดขึ้น

อุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์

  • แท็บเล็ตพกพา ASUS Eee Pad Transformer
  • คีย์บอร์ดแยก
  • สาย USB
  • เต้าต่อแบตเตอรี่รูปแบบ USB
  • สายต่อ Micro-USB
  • คู่มือการใช้งานพร้อมใบรับประกัน

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

การใช้งานคีย์บอร์ดเบื้องต้น

ความพิเศษของ ASUS Eee Pad Transformer ที่โดดเด่นกว่าตัวอื่นๆ คือคีย์บอร์ดแยกที่คุณสามารถนำมาเชื่อมต่อเข้ากับตัวแท็บเล็ตเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

แม้ทั่วไปวิธีการเรียงอักษรอาจจะเหมือนกับคีย์บอร์ดทั่วไป แต่คีย์บอร์ดของ ASUS Eee Pad Transformer มีความพิเศษอยู่ที่ ด้านบนจะมีปุ่มลัดสำหรับการใช้งานบน Android Honeycomb ประกอบไปด้วย

  1. ปุ่มย้อนกลับ
  2. เปิด/ปิด Wi-Fi
  3. เปิด/ปิด Bluetooth
  4. เปิด/ปิด การใช้งาน Trackpad
  5. ลดระดับความสว่าง
  6. เพิ่มระดับความสว่าง
  7. ปรับระดับความสว่างอัตโนมัติ
  8. จับภาพหน้าจอ
  9. ปุ่มลัดเข้าหน้าเพจ
  10. ปุ่มลัดเข้าตั้งค่า
  11. เล่นไฟล์ก่อนหน้า
  12. เล่น/พักไฟล์
  13. เล่นไฟล์ถัดไป
  14. ปิดเสียง
  15. ลดระดับความเสียง
  16. เพิ่มระดับความเสียง
  17. ล็อคหน้าจอ

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ใต้คีย์บอร์ดเป็นส่วนของ Trackpad ใช้สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนหน้าจอ

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ด้านข้างของคีย์บอร์ดเป็นส่วนของช่องเชื่อมต่อต่างๆ ได้แก่ ช่องต่อที่ชาร์จแบตเตอรี่, ช่องต่อการ์ด SD และ ช่องต่อ USB Host 2 ช่องสำหรับการเชื่อมต่อ USB สามารถใช้งานได้ทั้งต่อกับ เม้าส์, แฟลชไดร์ฟ หรือ ต่อกับ Aircard ได้โดยตรง

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

รูปแบบการแสดงผลบนหน้าจอหลัก

การแสดงผลของ ASUS Eee Pad Transformer เป็นการแสดงผลของ Android 3.2.1 Honeycomb ที่จะแบ่งหน้าแสดงผลออกเป็น 5 หน้าหลัก

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

แถบด้านบนของ Android Honeycomb จะมีปุ่มสำหรับเข้าฟังก์ชั่นอย่างเร็วได้แก่ ค้นหาจาก Google, ค้นหาด้วยเสียง, แอพทั้งหมด

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ปุ่ม + ที่มุมขวาบนจะแสดงรายการหน้าทั้งหมดพร้อมการตั้งค่าหน้าจอต่างๆ ได้แก่

  • Widgets : เพิ่ม Widgets รูปแบบต่างๆ ของหน้าจอหลัก

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

  • App Shortcut : เพิ่มไอคอนแอพพลิเคชั่นที่จอแสดงผลหลัก

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

  • Wallpaper : เปลื่ยนภาพพื้นหลังจาก คลังภาพ, Live Wallpaper และภาพพื้นหลังที่กำหนดไว้

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

  • More : เพิ่มทางลัดอื่นๆ เช่น Bookmark, รายชื่อ, Playlist รายการ GPS เป็นต้น

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ส่วนด้านล่างได้แก่ ปุ่มย้อนกลับ, โฮม, แสดงฟังก์ชั่นที่พึ่งใช้งาน, แสดงการเชื่อมต่อคีย์บอร์ด, SD การ์ด, แจ้งเตือนทั่วไป, นาฬิกา, และการตั้งค่าทั่วไป

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

อินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์

การเล่นอินเทอร์เน็ตของ ASUS Eee Pad Transformer นอกจากจะมีคีย์บอร์ด และเม้าส์ที่ช่วย ให้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ยังรองรับการใช้งาน HTML หรือ Flash Player ได้ไม่แพ้โน้ตบุ๊คทั่วๆ ไป สำหรับการเชื่อมต่อ ASUS Eee Pad Transformer ทำได้ 2 ช่องทางคือทาง Wi-Fi, ทาง Aircard ผ่านการต่อ USB Host

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

สำหรับเวลาพิมพ์ข้อความหรือเว็บไซด์ด้านบนจะใช้ทำการค้นหาหน้าเว็บที่ต้องการแล้วยังสามารถ เลือกข้อความ, ตัด, คัดลอก และแชร์ข้อความออกทางระบบที่กำหนดไว้

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

คลังภาพและวิดีโอ

ภาพและวิดีโอจะเก็บอยู่ในเมนูคลังภาพโดยแบ่งออกตามโฟลเดอร์ที่เราตั้งไว้ เมื่อเลือกภาพที่ต้องการแล้วเราสามารถตั้งภาพให้เล่นสไลด์โชว์, แชร์ไฟล์ภาพผ่านระบบที่ตั้งไว้, ลบรูป, ดูรายละเอียดภาพ, ตัด/หมุนภาพ และตั้งรูปเป็น Wallpaper

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ในส่วนวิดีโอ ASUS Eee Pad Transformer สามารถเล่นไฟล์วิดีโอความละเอียด HD 720p

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

เครื่องเล่นเพลง

เครื่องเล่นเพลงจะแบ่งประเภทของการรับฟังเพลงออกเป็น 5 รูปแบบได้แก่ เพลงที่เพิ่งเพิ่มมา, อัลบั้ม, ศิลปิน, เพลง, รายการเพลง, และแบ่งตามประเภท

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

เมื่อเลือกเพลงแล้วจะแสดง ชื่อเพลง, ศิลปิน, อัลบั้ม ปกอัลบั้มที่กึ่งกลาง แถบแสดงเวลาพร้อมระยะเวลาของเพลง ปุ่มตั้งการเล่นสุ่ม, แถบควบคุมเครื่องเล่นเพลง (เล่นก่อนหน้า, เล่น/พัก, เล่นถัดไป) ด้านบนมีไอคอนแว่นขยายสำหรับการค้นหาเพลงโดยใส่ชื่อ และแถบตั้งค่าเพื่อตั้งเพลงเป็นรายการเพลง หรือดูเพลงอื่นๆ จากศิลปินที่กำลังเล่นเพลงอยู่

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

กล้องถ่ายรูป

กล้องของ ASUS Eee Pad Transformer แบ่งออกเป็น 2 ตัว คือกล้องด้านหลังความละเอียด 5 ล้านพิกเซล และกล้องหน้าความละเอียด 1 ล้านพิกเซล พร้อมใช้งานเป็นเว็บแคมในตัว โดยสามารถปรับตั้งค่าต่างๆ ของกล้องได้ดังนี้

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

คุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่ง

  • ขนาดภาพถ่าย ปรับความละเอียดได้ : 2592 x 1944, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล
    – กล้องหน้าความละเอียด 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล
  • ซูมดิจิตอล 8 เท่า (8x Digital zoom)
  • คุณภาพ : ปกติ, ดี, ดีมาก
  • เอฟเฟ็กต์ : Mono, Sepia, Nagative
  • สมดุลแสงสีขาว : อัตโนมัติ, Incandescent, Fluorescent, Daylight
  • แนบพิกัด GPS ลงบนภาพถ่าย : เปิด, ปิด

คุณสมบัติในการบันทึกวีดีโอ

  • ความละเอียด
    – HD : 1280 x 720 พิกเซล รูปแบบไฟล์ 3GP ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที
    – VGA : 640 x 480 พิกเซล รูปแบบไฟล์ 3GP ความเร็ว 15 เฟรมต่อวินาที
  • กล้องหน้าความละเอียด
    – VGA : 640 x 480 พิกเซล รูปแบบไฟล์ 3GP ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที
    – CIF : 352 x 288 พิกเซล รูปแบบไฟล์ 3GP ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที
  • คุณภาพ : ปกติ, ดี, ดีมาก
  • เอฟเฟ็กต์ : Mono, Sepia, Nagative
  • สมดุลแสงสีขาว : อัตโนมัติ, Incandescent, Fluorescent, Daylight
  • โหมด Time lapse interval บันทึกภาพทุกๆ 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 5, 10 วินาที

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส   ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส   ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส   ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ASUS Eee Pad Transformer - อัสซุส

ใส่ความเห็น »

พรีวิว Samsung Galaxy S5690 Xcover

พรีวิว Samsung Galaxy S5690 Xcover สมาร์ทโฟนพันธุ์แกร่ง กันน้ำ กันฝุ่น กันกระแทก

 

 

ถ้าหากกล่าวถึง สมาร์ทโฟนที่สามารถกันน้ำ กันแรงกระแทก กันฝุ่นและมีความแข็งแรงเป็นเยี่ยมแล้ว คาดว่า หลายคนจะต้องนึกถึง Motorola Defy เป็นอันดับแรกๆ อย่างแน่นอน เรียกว่า Motorola Defy นั้น ถือเป็นรุ่นบุกเบิกสมาร์ทโฟนในตระกูลเหล่านี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งล่าสุดนั้น Motorola ได้ออก Motorola Defy+ รุ่นสานต่อของ Motorola Defy ที่มีการปรับปรุงความเร็วในการประมวลให้เร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ยังคงความสามารถเด่นเฉพาะตัว นั่นคือ สามารถกันน้ำ กันแรงกระแทก และกันฝุ่นได้นั่นเอง

 

แต่ในตอนนี้ สมาร์ทโฟนรุ่นแรมโบ้นั้น ไม่ได้มีแค่ Motorola Defy และ Motorola Defy+ อีกต่อไปแล้ว เพราะล่าสุดนั้นซัมซุง ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนสายพันธุ์อึด ตระกูล Galaxy อย่าง Samsung Galaxy S5690 Xcover มาสร้างตลาดให้กับผู้ที่ชื่นชอบ สมาร์ทโฟนพันธุ์แกร่งด้วยเช่นกัน ซึ่ง Samsung Galaxy S5690 Xcover สามารถกันน้ำ กันกระแทก และกันฝุ่น ตามมาตรฐาน IP67 เช่นเดียวกับ Motorola Defy+ ถือว่า Samsung Galaxy S5690 Xcover นั้น ก็มีความสนใจไม่น้อยเช่นกัน

 

สเปคของ Samsung Galaxy S5690 Xcover

 

– จอแสดงผลขนาด 3.65 นิ้ว แบบ TFT Capacitive Touchscreen ความละเอียด 320×480 พิกเซล
– หน้าจอแบบ Gorilla Glass Display สามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้
– ระบบประมวลผล Marvell MG2 Processor ความเร็ว 800MHz
– ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3.4 Gingerbread
– ขนาด 122 x 66 x 12 มิลลิเมตร
– น้ำหนัก 116 กรัม
– หน่วยความจำ (RAM) ขนาด 512MB
– หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง ขนาด 150MB
– กล้องดิจิตอล ด้านหลังตัวเครื่อง ความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล พร้อม LED Flash
– รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi b/g/n, Bluetooth เวอร์ชั่น 3.0, GPS (A-GPS), microUSB Port และ หูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร
– สามารถกันน้ำได้ลึกสูงสุด 1 เมตร และนานต่อเนื่องสูงสุด 30 นาที

 

การออกแบบ Samsung Galaxy S5690 Xcover

 

 

ถึงแม้ว่า Samsung Galaxy S5690 Xcover จะถูกออกแบบให้เป็นสมาร์ทโฟนสายพันธุ์อึด แต่ตัวเครื่องกลับมีน้ำหนักเบา เพียง 116 กรัมเท่านั้น เนื่องจากผลิตจากพลาสติกนั่นเอง ส่วนจอแสดงผลนั้น เป็นแบบ Gorilla Glass ซึ่งป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนบนหน้าจอได้เป็นอย่างดี

 

มาดูส่วนประกอบอื่นๆ ของตัวเครื่องกันบ้าง

 

 

ด้านบนของจอแสดงผล ประกอบด้วย Proximity Sensor สำหรับปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา และลำโพงสำหรับสนทนา

 

 

ด้านล่างของจอแสดงผล ประกอบด้วย ปุ่มแบบ Hardware 3 ปุ่มคือ ปุ่ม Menu, ปุ่ม Home, ปุ่ม Back ซึ่งถูกออกแบบให้กันน้ำได้โดยเฉพาะ

 

 

ด้านซ้ายของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มสำหรับปรับเสียง ส่วนไอคอนรูปไฟฉายนั้น คาดว่า น่าจะสามารถใช้ LED Flash ด้านหลังตัวเครื่องเป็นไฟฉายได้ แต่รุ่นที่นำมาทดสอบนั้น ยังไม่ได้ใส่ฟังก์ชั่นนี้เข้ามา

 

 

ด้านขวาของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มสำหรับเปิด/ปิด/ล็อคเครื่อง

 

 

ด้านบนของตัวเครื่องนั้น เป็นช่องสำหรับหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร ที่มาพร้อมฝาปิด

 

 

 

 

ด้านหลังตัวเครื่อง ประกอบด้วย กล้องดิจิตอล ความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล พร้อม LED Flash, ลำโพง และ ปุ่มล็อคฝาหลัง

ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3.4 Gingerbread

 

 

 

สำหรับ Samsung Galaxy S5690 Xcover นั้น ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3.4 Gingerbread และ User Interface TouchWiz 3.0 UI ซึ่งเมื่อเทียบกับ Galaxy Phone รุ่นอื่นๆ ก็ถือว่า ไม่ได้มีอะไรแตกต่างเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี แอพพลิเคชั่นจำเป็นๆ อย่าง พวกมาตรวัดความสูง หรือเข็มทิศ กลับไม่ได้มีมาให้ในตัวเครื่อง

 

กล้องดิจิตอล ความละเอียดแค่ 3 ล้านพิกเซลเท่านั้น

 

เนื่องจาก Samsung Galaxy S5690 Xcover ถูกออก แบบให้ใช้งานประเภททนทานเสียมากกว่า ทำให้ฟังก์ชั่นอื่นๆ ภายในตัวเครื่องอย่าง กล้องถ่ายรูปด้านหลัง ไม่ได้มีความละเอียดสูงดังเช่นรุ่นอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแบบ Fixed-focus แน่นอนว่า คุณภาพของรูปถ่ายที่ได้ คงไม่ดีเท่าสมาร์ทโฟนที่มีความละเอียดของกล้องถ่ายรูปตั้งแต่ 5 ล้านพิกเซลขึ้นไป

 


 


Browser

 

 

น่าแปลกตรงที่ว่า ถึงแม้ Samsung Galaxy S5690 Xcover จะใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่ รุ่นที่นำมาทดสอบนั้น กลับไม่สามารถรองรับการเปิด Flash Player ได้ แต่ก็ไม่แน่ว่า ฟังก์ชั่นนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

 

ในส่วนหน้าตาของเว็บบราวเซอร์นั้น ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ แต่หลังจากที่ทำการทดสอบ โดยการซูมและเลื่อนไปโดยรอบ พบว่า ช่อง URL ด้านบนนั้น กลับหายไป ซึ่งต้องกดปุ่ม Back เพื่อทำการแสดงผลแบบเต็มหน้าเหมือนเดิม สรุปคือ Samsung Galaxy S5690 Xcover ยังตอบสนองต่อการเปิดหน้าเว็บเพจได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ก็ตาม

 

บทสรุป

 

จากการทดสอบ Samsung Galaxy S5690 Xcover พบว่า ยังด้อยกว่า Motorola Defy อยู่มาก โดยเฉพาะในเรื่องของกล้องถ่ายรูป และความเร็วของระบบปฏิบัติการ ซึ่งน่าจะทำให้ Samsung Galaxy S5690 Xcover มีราคาต่ำกว่า Motorola Defy ก็เป็นได้ นอกจากนี้ ทางซัมซุงเอง คงหวังที่จะให้ Samsung Galaxy S5690 Xcover อยู่ในกลุ่มตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลาง จนถึงระดับล่างเสียมากกว่า

 

อย่างไรก็ตาม รุ่นที่นำมาทดสอบกับรุ่นที่วางจำหน่ายจริง อาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของฟังก์ชั่นบางอย่างที่ยังไม่สามารถใช้งาน ได้ขณะทดสอบ ซึ่งหลังจากการนำไปปรับปรุงแล้ว น่าจะใช้งานได้ดีขึ้นมากกว่านี้ครับ

ใส่ความเห็น »

รีวิว Samsung Galaxy R น้องชายคนรองของพี่ S II

หลังจากซัมซุงประกาศวิธีตั้งชื่อรุ่นแบบใหม่ เราก็ทราบกันแล้วว่า Galaxy R หมายถึงมือถือตระกูล Galaxy (Android)รุ่นรองท็อป (รองจาก Galaxy S) อธิบายง่ายๆ มันคือ Galaxy S II รุ่นลดสเปกลงมาบางส่วนนั่นเอง

 

ผมได้รับเครื่องรีวิวจากทางซัมซุง ได้ลองเล่นเป็นเวลาสั้นๆ สองสามวัน ค่อนข้างประทับใจกับมันไม่น้อย Galaxy Rกำลังจะวางขายในงาน Thailand Mobile Expo รอบล่าสุดนี้ ดังนั้นก็ขอลงรีวิวสั้นๆ เพื่อคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะซื้อดีหรือไม่ครับ

 

Galaxy R

 

ข่าวของ Galaxy R ออกมาช่วงเดือนสิงหาคม (ข่าวเก่า: ซัมซุงจับมือ NVIDIA ออกมือถือ Galaxy R ในยุโรปและเอเชีย) ซึ่งถือว่าระยะเวลานับจากออกข่าวจนถึงวางขายจริงในไทยค่อนข้างเร็ว ประมาณหนึ่งเดือนครึ่งเท่านั้น

 

Galaxy R มีชื่อรุ่นว่า I9103 ลักษณะโดยรวมของมันก็อย่างที่บอกไปคือ Galaxy S II รุ่นเปลี่ยนสเปกฮาร์ดแวร์ลงนิดหน่อย

 

จุดที่เปลี่ยนได้แก่

 

  • หน่วยประมวลผล ของ Galaxy S II ใช้ซีพียู Exynos 1.2GHz ส่วนใน Galaxy R ใช้ NVIDIA Tegra 2 1GHz
  • หน้าจอ ขนาดเท่ากันที่ 4.27″ 800×480 แต่เปลี่ยนจากจอ Super AMOLED Plus ใน S II มาใช้ Super Clear LCD (SC-LCD)
  • กล้อง ลดขนาดของเมกะพิกเซลลง กล้องหลังลดจาก 8MP มาเหลือ 5MP, กล้องหน้าลดจาก 2MP ลงมาเหลือ 1.3MP

 

สเปกอย่างอื่นเหมือนกันเกือบหมด ใช้ RAM 1GB, แบตเตอรี่ 1650 mAh, Bluetooth 3.0, sensor และการเชื่อมต่อต่างๆ ครบครัน (สเปกอย่างละเอียดจาก Samsung Party)

 

เท่าที่เช็คดูในรายการสเปกของเมืองนอก Galaxy R ให้พื้นที่เก็บข้อมูลภายในมา 16GB แต่เครื่องที่ผมได้มาใช้ได้ 4GB อันนี้ต้องลองเช็คเครื่องที่วางขายจริงอีกทีครับ

 

รูปร่างหน้าตา

 

ดูเผินๆ ด้านหน้ามันจะเหมือน Galaxy S II มาก ชนิดว่าวางเคียงกันแล้วอาจหยิบผิดได้ทีเดียวเลย

 

 

แต่ข้างหลังมาคนละแนวเลยครับ ฝาหลังของ Galaxy R ใช้วัสดุลาย brushed metal ให้ความรู้สึกเป็นโลหะ จับแล้วเข้มแข็งดีมาก

 

 

วิธีการวางปุ่มและพอร์ตก็ตามมาตรฐานของมือถือซัมซุงครับ ปุ่มควบคุมด้านหน้า 3 ปุ่ม ไม่มีปุ่ม Search และมีปุ่ม Home แยกอยู่ตรงกลาง

 

ส่วนพอร์ต Micro USB อยู่ด้านล่าง

 

 

ปุ่มปรับระดับเสียงอยู่ฝั่งซ้ายของตัวเครื่อง ปุ่มเปิดเครื่อง-ปิดหน้าจออยู่ฝั่งขวา ช่องเสียบหูฟังอยู่ด้านบน

 

 

 

ด้านหลังมีกล้องพร้อมแฟลช วางตำแหน่งของเลนส์ไว้ตรงกลาง

 

 

ฝาหลังแกะง่าย ความดีอย่างหนึ่งของมันคือถอดเปลี่ยนซิมโดยไม่ต้องถอดแบตเตอรี่ออกก่อน (แต่ Micro SD ต้องถอดแบตนะ)

 

 

วางเทียบขนาดกับ Nexus S ของผมเอง

 

 

ความบางด้านข้าง

 

 

ด้านหลังจะก้นนูนครับ ช่วยให้คลำๆ เพื่อหาทิศทางได้ง่ายขึ้น

 

 

อันที่ผมไม่ค่อยชอบเท่าไรคือ โลโก้ซัมซุงที่ด้านหลัง มันจะไม่เป็นเนื้อเดียวกับฝาหลัง ทำให้เวลาคลำๆ ในกระเป๋ากางเกงแล้วจะรู้สึกขัดๆ บ้าง เหมือนคลำแล้วเจอเข็มกลัดหรือโลหะอะไรประมาณนี้ แต่ก็ไม่ใช่ข้อเสียร้ายแรงอะไร

 

 

รูปร่างหน้าตาโดยรวมถือว่าสวยและดูดี งานประกอบและวัสดุค่อนข้างดี (คือไม่เป็นพลาสติกมากเหมือนมือถือซัมซุงรุ่นอื่นๆ) แต่หน้าจอ 4.27″ ถือว่าใหญ่ ถือแล้วเต็มไม้เต็มมือมาก ใครมือเล็กอาจต้องไปลองของจริงก่อนซื้อ

 

 

หน้าจอ SC-LCD ให้ภาพสวยคมชัด ผมลองใช้ Super AMOLED Plus ของ S II แล้วรู้สึกว่าสีมันเริ่มจะแสบตาเกินไปแล้วนะ แต่กรณีของ SC-LCD ถือว่ากำลังดี ไม่จัดจ้านไปเหมือนกับ Super AMOLED Plus โดยส่วนตัวผมชอบจอของ Galaxy R มากกว่าครับ (อย่างไรก็ตามเรื่องหน้าจอเป็นสิ่งที่ต้องไปลองทดสอบเองก่อนซื้ออยู่ดี)

ซอฟต์แวร์

 

Galaxy R ใช้ Android 2.3.4 พร้อมอินเทอร์เฟซ TouchWiz 4.0 รุ่นล่าสุด ตัวเดียวกับใน Galaxy S II

 

 

ในฐานะที่ผม ใช้ TouchWiz มาตั้งแต่ Galaxy S ตัวแรก ก็เห็นพัฒนาการของมันชัดเจนมาก ถึงแม้จะมีประเด็นเรื่องลอกหน้าตาของ iOS มาเกี่ยวข้องบ้าง (รุ่นหลังๆ มันก็เริ่มไม่ค่อยเหมือนแล้ว รุ่นแรกเหมือนเด๊ะ) แต่ต้องยอมรับว่า TouchWiz ทำให้ Android ดูดีขึ้น ใช้ง่ายขึ้น และสมบูรณ์มากขึ้นกว่า Android รุ่นมาตรฐานของกูเกิลมาก ให้ความรู้สึกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว

 

โดยรวมแล้ว TouchWiz ของ Galaxy R คงไม่ต่างอะไรกับ S II มาก ดังนั้นพูดถึงคร่าวๆ พอครับ

 

 

เริ่มจาก หน้า homescreen ที่เน้น widget เยอะเป็นพิเศษ (ซึ่งก็ต้องยอมรับอีกว่า widget ของ TouchWiz ทำมาดูดี) หน้าจอเพิ่ม widget ถูกปรับแต่งไปมาก ต่างจาก stock ไม่น้อย และดูดีกว่ากันเยอะ

 


แอพมาตรฐานก็ดังภาพ โดยรวมคงไม่ต่างอะไรกับมือถือซัมซุงรุ่นอื่นๆ มีแอพเฉพาะอย่าง AllShare, Kies, Photo Editor, Mini Diary มาให้

 

แอพตระกูล xHub ซัมซุงให้มา 3 ตัวคือ Readers Hub, Social Hub และ Game Hub (ขาด Music Hub ที่มีให้ในบางประเทศ)

 

มือถือเครื่องนี้คาดว่ามีต้นทางมาจากสิงคโปร์ เลยมีแอพของโอเปอเรเตอร์ M1 แถมมาหลายตัว (หน้าจอที่สาม) รุ่นที่ขายในไทยคงจะไม่มี

 

ภาพสุดท้ายจะเห็นว่า เราสามารถปรับแต่งและจัดเรียงแอพใน drawer ได้ สามารถสร้างโฟลเดอร์ได้ด้วย และเพิ่มหน้าจอแอพได้ตามต้องการ

 

 

Readers Hub มีหนังสือพิมพ์ไทยให้ซื้อหลายเล่ม (ผมก็ยังไม่เคยลองซื้อ) ส่วน Game Hub เป็นร้านขายเกมจากบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Gameloft, EA

 

 

Social Hub พัฒนาจากรุ่นก่อน รองรับ Instant Messenger อีกหลายยี่ห้อ แต่ลองใช้แล้ว ผมสรุปได้ว่าลงแอพเฉพาะงานเอาเองดีกว่า

 

ซัมซุงให้แอพ Voice Command มาด้วย แต่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีจากกูเกิล เป็นของ Vlingo แทน

 

 

แอพกล้องของ ซัมซุงยังมีลูกเล่นให้เยอะพอตัว สามารถสร้างช็อตคัตคำสั่งที่ใช้บ่อยไว้ด้านบนของหน้าจอได้ด้วย (ได้ 4 อัน ในภาพข้างบนสร้างไว้ 3 อัน) ข้อติคงเป็นว่าแอพกล้องทำงานช้าไปสักหน่อย โดยเฉพาะการเปิดหน้าจอ Settings ที่ต้องรอหนึ่งอึดใจกว่าจะโผล่มา (ไม่เข้าใจว่าทำไมเหมือนกัน)

 

คีย์บอร์ด ภาษาไทยของซัมซุงยังเป็นแบบ 3 แถว ตรงนี้หลายคนอาจอึดอัด (ผมก็อึดอัด) แต่ตรงนี้เป็นข้อดีของ Android ที่สามารถลงแอพคีย์บอร์ดที่ชอบเองได้ ไม่ต้องยึดติดกับคีย์บอร์ดของระบบปฏิบัติการ จึงไม่ใช่ปัญหาอะไร

 

สรุป


 

ข้อดี

 

  • วัสดุดูดี (เผลอๆ ดูดีกว่า S II)
  • ทำงานรวดเร็ว ตอบสนองทันใจ
  • Tegra 2 เล่นเกมได้เยอะ
  • จอภาพสวย
  • กล้องทำงานได้ดี
  • ได้ TouchWiz รุ่นใหม่ล่าสุด

 

ข้อเสีย

 

  • ตัวเครื่องมันใหญ่ไปนิด บางคนอาจไม่ชอบ
  • สเปกลดลงจาก S II หลายจุด ไม่ได้จอ Super AMOLED Plus (อันนี้แล้วแต่คนชอบ)
  • แอพกล้องทำงานช้า, คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 3 แถว
  • คนที่ไม่ชอบหน้าตาของ TouchWiz ก็คงไม่ชอบอยู่ดี

 

ราคาเปิดตัวที่งาน TME อยู่ที่ 15,900 บาท พร้อมของแถมอีกจำนวนหนึ่ง อ่านรายละเอียดกันเองที่ Samsung Party (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ)

 

โดยสรุปแล้ว ถ้าไม่ต้องการสเปกแรงสุดๆ แบบ S II ล่ะก็ Galaxy R เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากตัวหนึ่งเลยครับ เพราะสเปกส่วนที่ตัดออกไปก็ไม่ได้จำเป็นอะไรมากมายนัก ถ้ารออีกสักพักให้ราคาลดลงอีก คงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับมือถือราคาหมื่นกลางๆ ในตลาด

 

ประเด็นที่ไม่ได้ทดสอบ

 

  • แบตเตอรี่
  • เล่นเกม สมรรถนะของเครื่อง
  • GPS

กล้อง

ดูภาพกันเองง่ายกว่าครับ

สรุป


 

ข้อดี

 

  • วัสดุดูดี (เผลอๆ ดูดีกว่า S II)
  • ทำงานรวดเร็ว ตอบสนองทันใจ
  • Tegra 2 เล่นเกมได้เยอะ
  • จอภาพสวย
  • กล้องทำงานได้ดี
  • ได้ TouchWiz รุ่นใหม่ล่าสุด

 

ข้อเสีย

 

  • ตัวเครื่องมันใหญ่ไปนิด บางคนอาจไม่ชอบ
  • สเปกลดลงจาก S II หลายจุด ไม่ได้จอ Super AMOLED Plus (อันนี้แล้วแต่คนชอบ)
  • แอพกล้องทำงานช้า, คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 3 แถว
  • คนที่ไม่ชอบหน้าตาของ TouchWiz ก็คงไม่ชอบอยู่ดี

 

ราคาเปิดตัวที่งาน TME อยู่ที่ 15,900 บาท พร้อมของแถมอีกจำนวนหนึ่ง อ่านรายละเอียดกันเองที่ Samsung Party (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ)

 

โดยสรุปแล้ว ถ้าไม่ต้องการสเปกแรงสุดๆ แบบ S II ล่ะก็ Galaxy R เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากตัวหนึ่งเลยครับ เพราะสเปกส่วนที่ตัดออกไปก็ไม่ได้จำเป็นอะไรมากมายนัก ถ้ารออีกสักพักให้ราคาลดลงอีก คงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับมือถือราคาหมื่นกลางๆ ในตลาด

 

ประเด็นที่ไม่ได้ทดสอบ

 

  • แบตเตอรี่
  • เล่นเกม สมรรถนะของเครื่อง
  • GPS

กล้อง

ดูภาพกันเองง่ายกว่าครับ

 

ใส่ความเห็น »

[รีวิว] Samsung Galaxy Y สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก กับราคาเบาๆ น่าสัมผัส

[รีวิว] Samsung Galaxy Y สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก กับราคาเบาๆ น่าสัมผัส

เมื่อพูดถึงสมาร์ทโฟนจาก ซัมซุง ตระกูล Galaxy แล้ว ต้องบอกเลยว่า มีหลายรุ่น หลายราคา ให้เลือกซื้อกันอย่างมากมายเลยทีเดียว โดยระดับราคานั้น มีตั้งแต่ราคาสูงที่สุด อย่าง Samsung Galaxy Note ที่เป็นได้ทั้ง สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในเครื่องเดียว จำหน่ายแล้วในราคา 22,900 บาท หรือรุ่นรองลงมา อย่าง Samsung Galaxy S II ที่มียอดจำหน่ายในตอนนี้อย่างถล่มทลายเลยทีเดียว

Samsung Galaxy Y

แต่สำหรับ ผู้ที่กำลังมองหา สมาร์ทโฟน รุ่นที่สเปคไม่สูง และราคาไม่แพงอยู่แล้วล่ะก็ ทางซัมซุง ได้เปิดตัว Samsung Galaxy Y ที่เจาะกลุ่มตลาดผู้ใช้ในกลุ่มวัยรุ่น โดย Samsung Galaxy Y นั้น มีดีไซน์ที่คล้ายกับ Samsung Galaxy Cooper แต่มีสเปคที่ต่ำกว่าเล็กน้อย พร้อมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 Gingerbread เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนเครื่องแรก ราคาไม่แพง และไม่ต้องการฟีเจอร์มากจนเกินไปนั่นเอง

สเปคของ Samsung Galaxy Y อย่างละเอียด คลิ๊กที่นี่

แกะกล่อง สำรวจอุปกรณ์ด้านใน

ภายในกล่องของ Samsung Galaxy Y นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น microSD card ความจุ 2GB พร้อม SD adapter, สาย USB สำหรับโอนถ่ายข้อมูล และที่ชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ขาดหายไปนั้น คือ หูฟัง แต่สำหรับ Samsung Galaxy Y ที่จำหน่ายในไทยนั้น มีหูฟังแถมมาให้ในกล่องอุปกรณ์ครับ (ขอบคุณผู้ใช้งานที่แจ้งข่าวครับ)

การออกแบบ

รูปลักษณ์ภายนอกของ Samsung Galaxy Y จะทำมาจากพลาสติกเสียส่วนใหญ่ ประกอบกับฝาหลัง สามารถป้องกันรอยนิ้วมือได้เป็นอย่างดี อีกทั้งขนาดกำลังเหมาะมือ รวมทั้งน้ำหนักเบาเพียง 97.5 กรัมเท่านั้น

Samsung Galaxy Y มีจอแสดงผลขนาด 3 นิ้ว (QVGA) แบบ TFT Capacitive Touchscreen ความละเอียด 240×320 พิกเซล ซึ่งการตอบสนองของหน้าจอ ถือว่าทำได้ดีพอสมควร

ด้านบนของจอแสดงผล ประกอบด้วย Proximity sensor สำหรับปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน และลำโพงสำหรับสนทนาขนาดใหญ่ ส่วน Ambient light sensor สำหรับปรับแสงแบบอัตโนมัตินั้น Samsung Galaxy Y ไม่รองรับในจุดนี้ ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องปรับระดับความสว่างของหน้าจอเอง

ด้านล่างของจอแสดงผล ประกอบด้วย ปุ่มเมนู (ซ้าย), ปุ่ม Home (กลาง) และปุ่ม Back (ขวา) โดยปุ่ม Home นั้น เป็นลักษณะปุ่มแบบ Hardware button ในขณะที่ 2 ปุ่มที่เหลือ เป็นแบบระบบสัมผัส หรือ Capacitive control เมื่อใช้งาน ปุ่มเมนู และปุ่ม Back นั้น จะมีแสงสว่างขึ้นมา และดับลงเมื่อไม่ได้ใช้งาน

ด้านขวาของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มเปิด-ปิด-ล็อคเครื่อง เพียงปุ่มเดียวเท่านั้น

ด้านซ้ายของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มปรับระดับเสียง และช่องสำหรับร้อยสายคล้องคอ

ด้านบนของตัวเครื่อง ประกอบด้วย microUSB port และช่องสำหรับหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร

ด้านล่างของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ไมโครโฟนสำหรับสนทนา และช่องสำหรับเปิดแบตเตอรี่ที่ฝาหลัง

ด้านหลังของตัวเครื่อง ประกอบด้วย กล้องดิจิตอล ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และลำโพง ซึ่งฝาหลังนั้น ทำมาจากพลาสติกที่มีผิวขรุขระ สามารถป้องกันรอยนิ้วมือได้เป็นอย่างดี

แบตเตอรี่ Li-Ion ขนาด 1200mAh สามารถสนทนาได้นานถึง 6 ชั่วโมง (2G) และสแตนบายด์รอได้นาน 850 ชั่วโมง (2G) เลยทีเดียว

S! Hitech Comment

Samsung Galaxy Y S5360 3D view – 360° spin

http://st.gsmarena.com/vv/spin/samsung-s5360-galaxy-y.swf

 

User Interface – TouchWiz

ถึงแม้ว่า Samsung Galaxy Yจะ เป็นสมาร์ทโฟนระดับล่าง เนื่องจากมีราคาถูก และสเปคตัวเครื่องไม่สูง แต่สำหรับระบบปฏิบัติการแล้ว Samsung Galaxy Y นั้น ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 Gingerbread พร้อม User Interface แบบ TouchWiz แต่เนื่องจากความละเอียดของจอแสดงผลไม่สูงมาก ประกอบกับหน้าจอขนาดเพียง 3 นิ้ว อาจจะทำให้การแสดงผลในบางเรื่อง มีข้อจำกัดบ้างเล็กน้อย

ในส่วนของ Notification area หรือการแจ้งเตือนต่างๆ นั้น ประกอบไปด้วย การตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi, Bluetooth, GPS, เสียง (Sound) และการหมุนของหน้าจอแบบอัตโนมัติ (Auto-rotation) ซึ่งในส่วนนี้ ขาดการรายงานในเรื่องของ การแสดงผลจากการดาวน์โหลด และอีเวนท์ต่างๆ

Widgets หน้า Homescreen นั้น สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 7 หน้า ซึ่งผู้ใช้งาน เพิ่ม, ลด, จัดวางตำแหน่ง ของ Widgets ได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี การมี Widgets มากจนเกินไป อาจจะทำให้ตัวเครื่องหน่วงได้ เนื่องจากความเร็วของระบบประมวลผลไม่สูงมากนัก ฉะนั้น Widgets ไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ควรลบออกไปจะดีกว่าครับ อย่างไรก็ดี หน้า Homescreen บน Samsung Galaxy Y รองรับ Live Wallpapers ครับ

เมื่อตัวเครื่องเปิด แอพพลิเคชั่น มาใช้งานมากเกินไป สามารถจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ ด้วย TouchWiz task manager ซึ่งการใช้งานก็เหมือนกับ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่นก่อนๆ เมื่อโปรแกรมไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ก็ควรจะปิด เพื่อดึงหน่วยความจำ (RAM) ให้กลับคืนมานั่นเอง

ในส่วน ของเมนูนั้น เป็นการจัดเรียงแบบ Vertical scrollable grid หรือการเลื่อนจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย โดยผู้ใช้งานสามารถจัดเรียงตำแหน่งไอคอนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี เมนูไม่สามารถใช้งานแบบ List view ได้ครับ

รองรับ Gmail application

Samsung Galaxy Y รองรับ Gmail application สำหรับผู้ใช้งาน Gmail ซึ่งเป็นโปรแกรมคู่กันกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อย่างไรก็ดี การใช้งานในเรื่องการของพิมพ์อีเมล หรือตอบจดหมายนั้น จะทำได้ลำบากซักเล็กน้อย เนื่องจากหน้าจอมีขนาดเล็ก ยากต่อการกดนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีอีเมลอื่น ที่นอกเหนือไปจาก Gmail อย่างเช่น Hotmail หรืออีเมลของบริษัท Samsung Galaxy Y ก็รองรับในส่วนนี้เช่นกัน (รองรับทั้ง POP และ IMAP)

รองรับฟังก์ชั่น Swype

สำหรับสมาร์ทโฟนที่มี หน้าจอขนาดเล็ก การพิมพ์ในแต่ละครั้ง ค่อนข้างทำได้ลำบาก และช้า ซึ่ง Samsung Galaxy Yให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ 2 ระบบ คือ แบบ keypad ที่ผู้ใช้งานต้องพิมพ์เอง กับแบบ Swype ที่ช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ไปได้มาก และเหมาะกับสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาดเล็ก โดยวิธีการใช้นั้น เพียงแค่ลากนิ้วไปยังคำที่ต้องการพิมพ์ โดยที่ไม่ต้องลากให้ครบทุกตัว ระบบจะทำการสะกดคำให้อย่างอัตโนมัติเลยทันที อย่างไรก็ดี ฟังก์ชั่น Swype รองรับเพียงบางภาษาเท่านั้น

เปิดดูภาพใน Gallery

สำหรับ หมวด Gallery นั้น จะแสดงในลักษณะของ 3D และเอฟเฟ็กซ์การเปลี่ยนภาพที่แปลกตา ซึ่งสามารถขยายภาพถ่ายโดยใช้ฟังก์ชั่น Pinch-to-Zoom ได้ หรือการที่ปุ่ม +/- บนหน้าจอ อย่างไรก็ดี กล้องดิจิตอลบน Samsung Galaxy Y มีความละเอียดเพียง 2 ล้านพิกเซลเท่านั้น ซึ่งภาพที่ได้ อาจจะไม่คมชัดเท่าที่ควร

เปิดไฟล์วิดีโอ

ด้วยข้อจำกัดใน เรื่องของฮาร์ดแวร์ ทำให้ Samsung Galaxy Y ไม่สามารถรองรับไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงมาก อย่าง DivX หรือ XviD ได้ ซึ่งรองรับได้เพียงไฟล์นามสกุล 3GP หรือ MP4 เท่านั้น ส่วนโปรแกรมเล่นไฟล์วิดีโอก็ดูปกติ ธรรมดา ไม่มีอะไรพิเศษ

ฟังเพลงบน Music Player

โปรแกรม เครื่องเล่นเพลง สามารถแสดงรูปปกอัลบั้ม สามารถค้นหาเพลงจากชื่ออัลบั้ม ชื่อเพลง หรือชื่อนักร้องได้ อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนด้วยแบบของเสียง ด้วยฟังก์ชั่น Equaliser ได้อีกด้วย

กล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และการถ่ายภาพวิดีโอ

สำหรับ ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูป และต้องการภาพที่มีความละเอียดคมชัด Samsung Galaxy Y อาจจะไม่ตอบโจทย์ในจุดนี้ เนื่องจากกล้องดิจิตอลด้านหลังตัวเครื่องนั้น มีความละเอียดเพียง 2 ล้านพิกเซลเท่านั้น ซึ่งเป็นความละเอียดระดับมาตรฐานบนสมาร์ทโฟนที่มีราคาไม่สูงมากนัก อีกทั้งไม่รองรับ Flash จึงทำให้ภาพที่ได้ ไม่ละเอียดเท่าที่ควร อีกทั้ง ฟังก์ชั่นการปรับแต่งภาพ ก็มีไม่มากเท่าสมาร์ทโฟนราคาแพงๆ
ส่วนการถ่ายภาพวิดีโอนั้น ได้คุณภาพสูงสุดแค่ระดับ QVGA เท่านั้น

การเชื่อมต่อและเครือข่าย

Samsung Galaxy Y รองรับบลูทูธเวอร์ชั่น 3.0 (A2DP) และ microUSB เวอร์ชั่น 2.0 นอกจากนี้ ยังรองรับเครือข่าย 3G คลื่นความถี่ 850/900/2100 MHz อีกด้วย (สำหรับเครือข่าย Truemove และ Dtac จะเป็นรุ่น i9100T ส่วนเครือข่าย AIS จะเป็นรุ่น i9100)

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์

การเปิดหน้าเว็บไซ ต์บน Samsung Galaxy Y ถือว่า ทำได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากระบบประมวลผลมีความเร็วที่ไม่สูงมาก อีกทั้งหน้าจอความละเอียดน้อย ทำให้การแสดงผลนั้น ไม่ดีเท่าที่ควร แต่สำหรับฟังก์ชั่นอื่นๆ บนหน้าเว็บ เช่น การบุ๊คมาร์ค หรือการซูมหน้าเว็บแบบ Pinch-to-Zoom สามารถทำได้ตามปกติ

Android Market เวอร์ชั่นใหม่

Samsung Galaxy Y รองรับ Android Market เวอร์ชั่นใหม่ ที่มีรูปแบบที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นเดิม และง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ ยังมี section ใหม่อย่าง Editor’s choice และ Staff choices เพื่อเป็นทางเลือก ในการหาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ มาใช้งานอีกด้วย

นอกจาก นี้ ยังมีการจัดอันดับแอพพลิเคชั่นประเภท Top Paid, Top Free, Top Grossing, Top New Paid, Top New Free และ Trending (แอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยม) เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งานอีกเช่นกัน

สร้างและแก้ไขไฟล์เอกสารด้วย Quickoffice

โปรแกรมยอดนิยมสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์อย่าง Quickoffice ก็มีมาให้บนตัวเครื่องเช่นกัน

ระบบนำทาง (GPS) เชื่อมต่อกับ Google Maps

อีก หนึ่งฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ก็คือ การใช้ระบบนำทาง หรือ GPS ซึ่งค้นหาเส้นทางโดยผ่านระบบดาวเทียม ในขณะที่ ฟังก์ชั่น A-GPS จำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต

บทสรุป

สำหรับสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy ที่มีคุณสมบัติ และราคาใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy Y นั้น ก็คือ Samsung Galaxy Mini ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่า Samsung Galaxy Y เพียงเล็กน้อย และกล้องดิจิตอลความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล ซึ่งละเอียดกว่า สำหรับผู้ที่กำลังลังเลว่า ระหว่าง 2 รุ่นนี้ ควรจะซื้อรุ่นไหนดี เนื่องจากราคาไม่แตกต่างกันมาก ในจุดนี้ ควรจะต้องสอบถามตัวเราเองก่อนครับว่า จะใช้การใช้งานในด้านใดมากที่สุด ถ้าหากชอบการถ่ายรูป ควรจะเลือกSamsung Galaxy Mini ครับ เพราะมีกล้องที่ชัดกว่า แต่ถ้าหากชอบการใช้งานในด้านอินเทอร์เน็ต ควรเลือกSamsung Galaxy Yเนื่องจาก ระบบประมวลผลเร็วกว่านั่นเองครับ

ที่มาของบทความ : คลิ๊กที่นี่

TMC Articles

S! Hitech Comment

Samsung Galaxy Y S5360 3D view – 360° spin

http://st.gsmarena.com/vv/spin/samsung-s5360-galaxy-y.swf

 

 

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

Samsung Galaxy Y S5360 สมาร์ทโฟนรูปทรงกะทัดรัดขนาดเหมาะมือ วัดความสูงตัวเครื่องได้ 104.30 มิลลิเมตร กว้าง 57.95 มิลลิเมตร และความหนา 12.35 มิลลิเมตร ชั่งน้ำหนักรวมแบตเตอรี่ได้ 100 กรัม มีหน้าจอสัมผัสขนาด 3 นิ้ว

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

เหนือหน้าจอสกรีนยี่ห้อ Samsung ถัดขึ้นไปเป็นแถบลำโพงสำหรับสนทนา ถัดจากลำโพงสำหรับสนทนาซ่อนเซ็นเซอร์ไว้ 2 ตัวคือ Proximity เปิด/ปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนากับ Light Sensor

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

หน้าจอแสดงผลระบบสัมผัส ความละเอียด 240 x 320 พิกเซล วัดความกว้างหน้าจอได้ 3 นิ้ว

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ใต้หน้าจอมีปุ่มควบคุม ประกอบด้วย ปุ่มเมนู, ปุ่มโฮม และปุ่มย้อนกลับ

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ด้านบนซ่อนช่องสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบ Micro USB ใต้ฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง ถัดไปเป็นช่องเสียบหูฟังมาตรฐาน ขนาด 3.5 มิลลิเมตร

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ด้านล่างมีรูไมโครโฟนสำหรับสนทนา และร่องสำหรับงัดฝาหลังออก

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ด้านซ้ายมีแถบสำหรับเพิ่ม/ลดเสียง เหนือแถบขึ้นไปเป็นร่องสำหรับร้อยสายคล้องโทรศัพท์

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ด้านขวาเป็นปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง (ใช้เป็นปุ่มล็อค/ปลดล็อคหน้าจอ)

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ด้านหลังจัดวางกล้องถ่ายภาพความละเอียด 2 ล้านพิกเซล วางคู่กับลำโพงเสียงภายนอก

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

ฝาหลังทำจากพลาสติก ถูกออกแบบมาให้มีพื้นผิวขรุขระ ซึ่งทำให้จับตัวเครื่องได้กระชับมือยิ่งขึ้น ถอดฝาหลังออกด้วยการงัดที่ร่องด้านล่างตัวเครื่อง แล้วออกแรงงัดเบาๆ

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

เมื่อถอดฝาหลังออกจะพบแบตเตอรี่ความจุ 1,200 mAh โดยช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ microSD นั้นจะอยู่ด้านข้าง สามารถที่จะเปลี่ยนการ์ดหน่วยความจำ microSD ได้โดยไม่ต้องถอดแบตเตอรี่ และช่องเสียบซิมการ์ดนั้นจะวางอยู่ภายใต้แบตเตอรี่

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

Samsung Galaxy Y S5360  - ซัมซุง Galaxy Y S5360

หน้าจอแสดงผล มีด้วยกัน 3 หน้า โดยสามารถเพิ่ม/ลด หรือแม้แต่สลับตำแหน่ง ได้ด้วยการจีบรวบนิ้วที่หน้าจอ สำหรับการเพิ่มวิดเจ็ต, ทางลัด, โฟลเดอร์ หรือแม้แต่เปลี่ยนวอลเปเปอร์ ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่แตะที่หน้าจอค้างไว้สักครู่ จะมีเมนูที่ให้เลือกเพื่อเพิ่มที่หน้าจอหลักขึ้นมา

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

เข้าสู่หน้าแอพพลิเคชั่นทั้งหมด โดยการสัมผัสหน้าจอที่รูปตารางสี่เหลี่ยมทางขวามือ เมนูต่างๆ จะแสดงไอคอนโดยจัดเรียงในรูปแบบตาราง เปลี่ยนหน้าเพื่อดูแอพพลิเคชั่นที่เหลือด้วยการใช้นิ้วเลื่อนไปบนหน้าจอทางซ้าย และขวา

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

นาฬิกา – แสดงวันที่ และเวลา รวมทั้งสภาพอากาศ อีกทั้งยังมีแถบเมนู นาฬิกาปลุก, คลังภาพ, เครื่องเล่นเพลง และปุ่มโฮม เพื่อกลับสู่หน้าจอหลัก

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

ปฏิทิน – สามารถแสดงปฏิทินเป็นรายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน นอกจากนั้นยังสามารถสร้างกำหนดการ รวมถึงการแจ้งเตือนเมื่อถึงวันสำคัญ

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

สมุดบันทึก – สร้างบันทึกเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ และสามารถส่งข้อความที่เราบันทึกผ่านทางข้อความ หรือบลูทูธได้ทันที

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

อินเตอร์เน็ต – เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน EDGE, 3G และ Wi-Fi สามารถแสดงผลได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน เลือกบุ๊คมาร์ค เพื่อบันทึกเว็บเพจที่ต้องการ

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Market – แหล่งรวบรวมแอพพลิเคชั่นสำหรับแอนดรอยด์ ที่มีให้เลือกดาวน์โหลดเพิ่มเติมมากมาย

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Gmail – ใช้งานอีเมลจากบัญชีของ Gmail ในการ รับ, ส่ง, เขียนอีเมล

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Email – ใช้งานอีเมล รองรับบัญชี POP3, IMAP และ Exchange

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

วิทยุ FM – ใช้ชุดหูฟังมาตรฐานขนาด 3.5 มิลลิเมตรเป็นเสาสัญญาณ สามารถบันทึกช่องความถี่ที่ชื่นชอบแล้วจัดเก็บไว้ที่แถบด้านล่างได้

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

ตั้งค่า – ตั้งค่าการใช้งานโทรศัพท์

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Google Search – ใช้ในการค้นหาข้อมูลต่างๆ รวมถึงสามารถค้นหาด้วยคำสั่งเสียงได้

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Maps – แสดงแผนที่ รวมถึงที่ตั้งปัจจุบัน และสามารถค้นหาสถานที่ และเส้นทางการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

YouTube – แอพพลิเคชั่นในการรับชมวีดีโอออนไลน์

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Talk – สนทนากับเพื่อนๆ ออนไลน์ ผ่านบัญชี Gmail

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Places – หาสถานที่ต่างๆ โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการใช้งาน พร้อมรายละเอียด และระยะห่างจากที่อยู่ปัจจุบัน

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

การจัดการงาน – จัดการแอพพลิเคชั่นต่างๆ แสดงแอพพลิเคชั่นที่กำลังทำงาน และแอพพลิเคชั่นที่ได้ทำการดาวน์โหลดมา

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

เครื่องคิดเลข – เครื่องคิดเลข มีฟังก์ชั่นคำนวณเลขขั้นสูง เช่น sin, cos, tan

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

เครื่องบันทึกเสียง – บันทึกไฟล์เสียง และจัดเก็บไฟล์นั้นๆ ลงในการ์ดหน่วยความจำ

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Samsung Galaxy Y S5360 ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3.6 Gingerbread ใช้หน่วยประมวลผล ARMv6 หน้าจอแสดงผลความละเอียด 240 x 320 พิกเซล

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

การทดสอบความเร็ว และการแสดงผล

การทดสอบความเร็ว และการแสดงผลของ Samsung Galaxy Y S5360 เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรมต่างๆ ได้ผลดังนี้

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

  • ทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย Quadrant Standard ได้ 1,692 คะแนน
  • ตรวจสอบ Multitouch แบบสมบรูณ์สูงสุด 2 จุด
  • ความเร็ว Frame Rate วัดผ่าน Neocore ได้ 45.0 เฟรมต่อวินาที

การใช้งานอินเทอร์เน็ต

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Samsung Galaxy Mini SSamsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Mini SSamsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน 2G, 3G, EDGE และ Wi-Fi หน้าจอสามารถแสดงผลได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ใช้วิธีการจีบนิ้วเพื่อซูมเข้า-ออก หน้าจอ อีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นที่เก็บบันทึกประวัติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ และสามารถเลือกบุ๊คมาร์คหน้าเว็บที่ต้องการได้

อัลบั้มรูปภาพ และวิดีโอ

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

แสดงรูปภาพ และวีดีโอ ภายในการ์ดหน่วยความจำ microSD หากทำการซิงค์ข้อมูลบัญชี เช่น Gmail อัลบัมที่อยู่ภายในบัญชีจะแสดงในแอพพลิเคชั่นนี้ด้วย การแสดงผลทำได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน อีกทั้งยังสามารถที่จะแชร์ รูปภาพ หรืออัลบัมให้เพื่อนๆ ผ่านทาง Gmail, ข้อความ และบลูทูธ

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

กล้องถ่ายรูป

Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y Samsung Galaxy Y - ซัมซุง Galaxy Y

Samsung Galaxy Y S5360 มาพร้อมกล้องถ่ายภาพความละเอียด 2 ล้านพิกเซล สามารถตั้งเวลาถ่ายภาพ, เลือกเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ไม่ว่าจะ้เป็น ภาพเนกาทีฟ, ขาว-ดำ, ซีเปีย อีกทั้งยังสามารถถ่้ายภาพพาโนรามาได้อีกด้วย

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

คุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่ง

  • ความละเอียดภาพถ่าย : 1600 x 1200, 1280 x 960, 640 x 480 และ 320 x 240 พิกเซล
  • สมดุลสีขาว : อัตโนมัติ, แสงแดด, มีเมฆเ้ป็นส่วนมาก, อินแคนเดสเซนท์ และ ฟลูออเรสเซนส์
  • เอฟเฟ็กต์ : ปกติี, ภาพเนกาทีฟ, ภาพขาวดำ และ ภาพซีเปีย
  • เครื่องวัด : เน้นตรงกลาง, ตำแหน่ง และ เมทริกซ์
  • คุณภาพรูปภาพ : ดีที่สุด, ดี และ ปกติ
  • ความสว่าง : ปรับความสว่างได้ 9 ระดับ
  • เปิด/ปิด แสดงเส้นไกด์ไลน์
  • แสดงตัวอย่างภาพหลังบันทึก : เปิด, ปิด และ 2 วินาที
  • เปิด/ปิด บันทึกข้อมูล GPS ลงภาพถ่าย
  • เสียงชัตเตอร์ : เปิด และปิดเสียง
  • ตั้งเวลาถ่ายภาพ : ปิด, 2, 5 และ 10 วินาที
  • โหมดถ่ายรูป : ชอทเดียว, สไมล์ชอท และพาโนราม่า
  • โหมดฉาก : ไม่มี, ทิวทัศน์, กลางคืน, กีฬา, ปาร์ตี้/ในร่ม, พระอาทิตย์ตก, พระอาทิตย์ขึ้น, สีสีนของฤดูใบไม้ร่วง, แสงเทียน และ แสงพื้นหลัง
  • ซูมดิจิตอลสูงสุด 8 ระดับ

คุณสมบัติในการถ่ายวีดีโอ

  • ความละเอียด 320 x 240, 176 x 144 พิกเซล
    – รูปแบบไฟล์ MP4 ความเร็ว 15 เฟรมต่อวินาที
  • โหมดการบันทึก : ปกติ และ จำกัดสำหรับ MMS
  • ปรับระดับความสว่าง 9 ระดับ
  • ตั้งเวลาถ่ายวีดีโอ : ปิด, 2, 5 และ 10 วินาที
  • สมดุลสีขาว : อัตโนมัติ, แสงแดด, มีเมฆเป็นส่วนมาก, อินแคนเดสเซนท์ และ ฟลูออเรสเซนส์
  • เอฟเฟ็กต์ : ปกติี, ภาพเนกาทีฟ, ภาพขาวดำ และ ภาพซีเปีย
  • คุณภาพวีดีโอ : ดีที่สุด, ดี และ ปกติ
  • เปิด/ปิด แสดงเส้นไกด์ไลน์
  • แสดงภาพวีดีโอหลังการบันทึก : เปิด/ปิด
  • ซูมดิจิตอลสูงสุด 8 ระดับ

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360   Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360   

Samsung Galaxy Y S5360 - ซัมซุง Galaxy Y S5360

 

ใส่ความเห็น »